30/8/51

ประวัติ อำเภอที่สังกัด จ.ยโสธร









ประวัติอำเภอกุดชุม
ประวัติความเป็นมา

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธรในสมัยนั้นดำริเห็นว่า ท้องที่ตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ อยู่ห่างไกลจากอำเภอยโสธร หนทางทุรกันดาร ลำบากแก่ราษฎรในการไปมาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอยโสธร ประกอบกับเจตนารมณ์อันแรงกล้าของราษฎรทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าวที่มีความต้องการให้ทางราชการยกฐานะ ๔ ตำบลเป็นกิ่งอำเภอ โดยราษฎรยินดีจะสร้างอาคารสถานที่ราชการให้ โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด เพื่อสนองเจตนาอันแน่วแน่ของประชาชนและเพื่อความเจริญของบ้านเมืองในอนาคต ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ จึงประชุมกำนันทั้ง ๔ ตำบล ซึ่งได้แก่ นายสงค์ วงษ์ไกร กำนันตำบลโนนเปือย นายสาย จันทพาล กำนันตำบลโพนงาม นายวรรณทอง ยาวะโนภาส กำนันตำบลกำแมด และนายหา ยาวะโนภาส กำนันตำบลไผ่ มีมติเป็นเอกฉันท์คัดเลือกชัยภูมิซึ่งได้แก่พื้นที่บางส่วนของ "ดงเย็น" เป็นที่ดอนและตั้งอยู่ใกล้ชิดกับหมู่บ้าน "กุดชุม" ตำบลโนนเปือย เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ก็ได้ลงมือสร้างกันอย่างจริงจัง โดยกำนันทั้ง ๔ ตำบลดังกล่าว เป็นผู้นำที่เข้มแข็งรับอาสาชักชวนราษฎรสละตอไม้และแรงงานในการปราบพื้นที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ ในอาณาบริเวณประมาณ ๗๐ ไร่ และได้ตั้งปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอยโสธรผลัดเปลี่ยนกันออกมาดำเนินการกำกับดูแลการก่อสร้างและข้าราชการผู้เป็นกำลังอันสำคัญยิ่งที่มีส่วนผลักดันให้งานนี้เป็นผลสำเร็จก็คือ นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธร ซึ่งนอกจากจะมากำกับดูแลการก่อสร้างเป็นประจำแล้วยังได้รับภารกิจพิเศษให้เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับนายอ่วม นามสละ ที่ดินอำเภอยโสธร นายบุญชู ดีหนองยาง ครูใหญ่ ออกดำเนินการเรี่ยไรข้าวเปลือกจากราษฎรทั้ง ๔ ตำบล เพื่อรวบรวมขายเอาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าช่างฝีมือ และวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง ผลปรากฏว่าได้เงินจากการขายข้าวเปลือกเพียงพอแก่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในที่สุดผลแห่งการร่วมมือร่วมใจของประชาชนและข้าราชการก็เสร็จสิ้นลงในราวเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ มีสถานที่ราชการและบ้านพักซึ่งสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของราษฎรสำเร็จเรียบร้อย
อนึ่ง ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งอีกท่านหนึ่งในการสนับสนุนเป็นกำลังใจให้การก่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เป็นผลสำเร็จคือ ท่านพระครูปลัดปาเรสโก (ผัน) เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร และท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างวัดประชาชุมพลขึ้นมาพร้อม ๆ กับการสร้างกิ่งอำเภอฯ และในระยะเวลาต่อมาหลังจากสร้างกิ่งอำเภอ ฯ แล้วเสร็จไม่นาน ท่านก็เป็นผู้ดำเนินการตั้งหลักเมืองให้เป็นศักดิ์ศรีแก่กิ่งอำเภอด้วย
เมื่อสร้างกิ่งอำเภอฯ เสร็จแล้ว ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยโสธร ก็รายงานผลไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอแยกตำบลโนนเปือย ตำบลโพนงาม ตำบลกำแมด และตำบลไผ่ จากอำเภอยโสธร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม ตามนามหมู่บ้านกุดชุม ซึ่งสถานที่ที่ตั้งกิ่งอำเภอฯ อยู่ใกล้ที่สุด ในที่สุดได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอกุดชุม เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยทางราชการได้แต่งตั้งนายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ปลัดอำเภอโท อำเภอยโสธรมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอโท ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอกุดชุมคนแรก และเริ่มเปิดสถานที่ราชการติดต่อกับประชาชน เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๔ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายกำจัด ผาติสุวัณณ) เป็นประธานกระทำพิธีเปิด
กิ่งอำเภอกุดชุม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ คณะปฏิวัติได้ประกาศยกฐานะอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร อำเภอกุดชุมเป็นอำเภอหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดยโสธรตั้งแต่นั้นมา
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ๑. นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๖
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. นายปกรณ์ประยูร สุขวิพัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๐๗ ๒. นายมานิต วงศ์อนันต์ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๘ ๓. นายสุเธียร นิรันดรเกียรติ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐ ๔. นายอนันต์ คุ้มสิน พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๒ ๕. ร.ต.สมาน ธีรนิติ พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔ ๖. พ.ต.สุรัตน์ นราภิรมย์ขวัญ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ ๗. ร.อ.จรัส ทิพโกมุท พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙ ๘. นายอาณัติ บัวขาว พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๑ ๙. ร.ต.วิชิต อมราสิงห์ พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๔ ๑๐. พ.ต.สนอง เกษศิริ พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๕ ๑๑. นายเกษม ไชยนงค์ พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ ๑๒. นายเปรื่อง งามจันทร์ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๓๐ ๑๓. นายวิโรจน์ สุนทราวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๓ ๑๔. นายณัฐธศวร ภู่เจริญ พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ๑๕. ร.ต.มานพ พรเรืองวงศ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๖ ๑๖. นายสุชิน อ.โพธิ์ทอง พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘ ๑๗. นายเหรียญ สุขนอก พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ๑๘. นายจรูญ น้อยบัวทิพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ๑๙. นายคณีธิป บุญเกตุ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ ๒๐. นายอนันต์ ขำวงษ์รัตนโยธิน พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๕ ต.ค. ๒๕๔๖ ๒๑. นายอภิสรรค์ สง่าศรี ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน
คำขวัญอำเภอ
พระใหญ่คู่บ้าน ศาลเจ้าพ่อคู่เมือง ลือเลื่องบุญบั้งไฟ สมุนไพรมากมี ข้าวดีปลอดสารพิษ งามนิมิตภูทางเกวียน
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอกุดชุมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธร ๓๗ กิโลเมตร อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๙ มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๔๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๔๐,๐๐๐ ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทรายมูล และอำเภอปาติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้วและอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
- สภาพพื้นที่ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูงมีป่าไม้อยู่ทั่วไป ประเภทของป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
- ภูเขา ทิศเหนือของอำเภอเป็นภูเขาสูง สูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร
- แม่น้ำ อำเภอกุดชุม ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน แต่มีลำห้วยจำนวน ๘ แห่ง และมีน้ำตลอดปีมีเพียงแห่งเดียวคือ ห้วยโพง ซึ่งไหลผ่านตำบลกุดชุม ตำบลโนนเปือย ตำบลนาโส่ และตำบลกำแมด
๔. สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ประชากร
ณ วันที่ ๑๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ มีจำนวน ๕๙,๙๗๖ คน เป็นชาย ๓๐,๐๖๕ คน หญิง ๒๙,๙๑๑ คน
ความหนาแน่นของประชากร
- ความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ยต่อพื้นที่ ๑๑๘ คน / ตารางกิโลเมตร
- ในเขตเทศบาลเท่ากับ ๕๕๑ คน /ตารางกิโลเมตร (ประชากรในเขตเทศบาลเท่ากับ ๔,๒๑๘ คน )
- นอกเขตเทศบาลเท่ากับ ๑๑๑ คน / ตารางกิโลเมตร
รายได้เฉลี่ย
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของอำเภอกุดชุม = ๑๗,๙๒๐ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๙ มิ.ย. ๔๖ จาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกุดชุม)
การปกครอง
แบ่งเขตการปกครอง ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ออกเป็น ๙ ตำบล ๑๒๕ หมู่บ้าน ประกอบด้วย
ตำบล
จำนวนหมู่บ้าน
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลกุดชุม ๒. ตำบลกำแมด ๓. ตำบลโนนเปือย ๔. ตำบลนาโส่ ๕. ตำบลห้วยแก้ง ๖. ตำบลโพนงาม ๗. ตำบลหนองหมี ๘. ตำบลคำน้ำสร้าง ๙. ตำบลหนองแหน
๑๙๑๘๑๔๑๑๑๔๑๗๑๒๑๐๑๐
๔,๓๔๓๔,๘๓๙๓,๔๒๐๒,๐๙๘๒,๘๒๖๔,๔๗๐๒,๑๖๗๒,๒๘๖๓,๖๓๗
๔,๓๐๘๔,๘๓๔๓,๓๐๕๒,๐๖๐๒,๙๒๓๔,๕๘๘๒,๑๕๕๒,๑๒๕๓,๖๑๓
๘,๖๕๑๙,๖๗๐๖,๗๒๕๔,๑๕๘๕,๗๔๙๙,๐๕๘๔,๓๒๒๔,๓๙๓๗,๒๕๐
รวม
๑๒๕
๓๐,๐๖๕
๒๙,๙๑๑
๕๙,๙๗๖
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนในอำเภอมีทั้งหมด ๑๒,๖๕๓ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ ครบทุกครัวเรือน
ประปา มีประปาระดับอำเภอและหมู่บ้าน ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน ๑ แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๘๖ แห่ง
โทรศัพท์ มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๗๐ แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและ หมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๑๖๙
- ทางหลวงชนบท จำนวน ๕ สาย
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรัง จำนวน ๑๑๘ สาย
แหล่งน้ำ
- ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน
- มีลำห้วยไหลผ่าน ๘ สาย แต่มีเพียงลำห้วยเดียวที่มีน้ำตลอดปี คือลำห้วยโพง
- คลองชลประทาน จำนวน ๒ แห่ง
- ฝาย จำนวน ๔๗ แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน ๕๐๖ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๖๔ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ จำนวน ๑๘๓ บ่อ
- โอ่งขนาดใหญ่ จำนวน ๑๘,๐๐๐ ใบ
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๙๙ จำนวน ๗ แห่ง
- ถังเก็บน้ำ ฝ. ๓๓ จำนวน ๔๗ แห่ง
เศรษฐกิจ อาชีพหลัก ได้แก่ (อาชีพและธุรกิจ)
๑. อาชีพทางการเกษตร ประมาณ ร้อยละ ๙๕ ของประชากรทั้งหมด โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น ๒๐๕,๑๐๖ ไร่ ( แยกเป็นพื้นที่การทำนาทั้งหมด ๑๗๔,๓๗๓ ไร่ ข้อมูลจาก สนง.เกษตรอำเภอกุดชุม)
- พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าว , มันสำปะหลัง , แตงโม , อ้อย , ฟักทองฯ
- สัตว์เศรษฐกิจ คือ โค , กระบือ , สุกร ,เป็ด , ไก่ ฯ
๒. อาชีพรับจ้าง ประมาณ ร้อยละ ๓
๓. อาชีพค้าขาย ประมาณ ร้อยละ ๒
๔. การอุตสาหกรรม ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม
๕. การสหกรณ์ อำเภอกุดชุมมีสหกรณ์จำนวน ๑ แห่งคือ สหกรณ์การเกษตรอำเภอกุดชุม โดยมีสมาชิกทั้งหมด ๔๗ กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด ๑,๙๐๙ คน และมีเงินทุนหมุนเวียนในสหกรณ์ ๕๔,๙๙๓,๖๙๑.๘๖ บาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๖)
ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน / ผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอกุดชุมมีสิ่งที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นที่ยอมรับกันในระดับประเทศก็ว่าได้ ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากดังนี้
๑. ผลิตผลข้าวหอมมะลิปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษรตกรทำนาบ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ ต.นาโส่ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการจัดการที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่การปลูกข้าวโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีจนถึงกระบวนการแปรรูป ผลผลิตเป็นข้าวสารปลอดสารพิษส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลนาโส่และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล) และในแต่ละเดือนจะมีกลุ่มนักศึกษา กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนักวิจัยฯ ได้แวะเวียนมาศึกษาดูงาน ที่โรงสีข้าวบ้านโสกขุมปูน เป็นประจำ
๒. งานหัตถกรรมกลุ่มแม่บ้าน บ้านโนนยาง ต.กำแมด เป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติและนำไปดัดแปลงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่นกระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เอกสารและอื่น ๆ อีกมากมาย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฯกลุ่มนี้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ได้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตามความถนัดของสมาชิกในกลุ่ม และหนึ่งในกลุ่มย่อยนี้ก็คือกลุ่มผลิภัณฑ์จากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสิน้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของตำบลกำแมด และได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัด ได้กำหนดเข้าใน Web Site หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว (ดูข้อมูล)
๓. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พืชสมุนไพร บ้านท่าลาด ม. ๓ ต.น่าโส่
๔. ข้าวเกรียบ และหัตถกรรม สานเส้นพลาสติก บ้านหนองเมืองกลาง ม.๑๐ ต.กุดชุม เป็นการรวมกลุ่มกันของกลุ่มสตรี ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะกร้า แจกัน หมวก (ดูข้อมูล)
๕. ฟักทองและผลิตภัณฑ์ฟักทอง บ้านโนนประทาย ม.๕ ต.หนองแหน ในพื้นที่ของตำบลหนองแหนเป็นเขตพื้นที่ของภูเขาเตี้ย ๆ สภาพดินยังเป็นดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ประกอบกับลักษณะภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชไร่ จึงทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวของตำบลหนองแหน โดยเฉพาะบ้านโนนประทายมีกาปลูกฟักทอง และอ้อยเป็นจำนวนมาก ด้วยความลงตัวของเหตุผลที่กล่าวมาแล้วจึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มแม่บ้าน เพื่อนำผลผลิตของเกษตรกรมาแปรรูปและเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ ต.หนองแหน
๖. ไร่หอม บ้านนาประเสริฐ ม.๑๔ ต.โพนงาม บ้านนาประเสริฐเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ หมู่บ้านหนึ่งในเขต ต. โพนงาม ก็ไม่ได้แตกต่างจากหมู่บ้านอื่น ๆ เลย ในระแวกเดียวกันเท่าใดนักแต่เป็นที่น่าสังเกตคือ ประชาชนชาวบ้านนาประเสริฐมีผู้นำที่เข้มแข็งราษฎรในหมู่บ้านมีความสามัคคีขยันขันแข็ง ปลูกหอมแบ่ง (ที่ขายทั่วไปตามตลาดสดไม่ใช่หัวหอมแดง) ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีกันทั้งหมู่บ้านรายได้ดีกันพอสมควรเพราะมีตลาดรองรับ กลุ่มพ่อค้าคนกลางไปรับซื้อกันถึงหมู่บ้าน
สังคม
การศึกษา จำนวนสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ ดังนี้
สังกัด
จำนวนนักเรียน (แห่ง)
ครู (คน)
นักเรียน (คน)
การประถมศึกษาสามัญศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน
๕๐๕๑
๔๙๕๑๑๕๑๒
๙,๐๖๘๓,๑๐๔๑,๐๒๕
รวม
๕๖
๖๒๒
๑๓,๑๙๒
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ๙ แห่ง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๖๒๕ คน
- ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๙ แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๗๕ แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ ๕๙,๘๗๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๘๒
- นับถือศาสนาคริสต์ ประมาณ ๑๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๗
- นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ - คน
- นับถือศาสนาอื่นๆ ประมาณ - คน
- มีวัด จำนวน ๖๖ วัด (มหานิกาย ๖๔ วัด , ธรรมยุตนิกาย ๒ วัด)
- มีโบสถ์คริสต์ จำนวน ๑ แห่ง
ด้านวัฒนธรรม/ประเพณี/เทศกาล
๑. งานบุญคูณลานข้าว บ้านโสกขุมปูน หมู่ที่ ๒ บุญเบิกบ้าน ต.นาโส่
๒. งานบุญบั้งไฟ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ มิถุนายน ของทุกปี โดยมีเทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาร่วมกับพี่น้องประชาชนชาวอำเภอกุดชุมร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
๓. แข่งจักรยานเสือภูเขา "กุดชุมสู่ภูหมากพริก" จะมีการจัดทุกปี ซึ่งเริ่มจัดครั้งแรกในปี ๒๕๔๓ โดย "ชมรมจักรยานเสือภูเขาอำเภอกุดชุม" เป็นเจ้าภาพ
๔. งานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอกุดชุม จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ ๑๙ , ๒๐ มีนาคมของทุกปี ในวันแรกของการจัดงานจะมีการเปลี่ยนผ้าทรงขององค์เจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งองค์เจ้าพ่อหลักเมืองนี้ เป็นที่เคารพ สักการบูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องชาวอำเภอกุดชุมเป็นอย่างมาก
สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัย จำนวน ๑๓ แห่ง
- ศูนย์การแพทย์แผนไทย จำนวน ๑ แห่ง อยู่ที่โรงพยบาลกุดชุม
- ศูนย์พัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร จำนวน ๑ แห่ง อยู่ที่วัดท่าลาด หมู่ที่ ๓ ตำบลนาโส่
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อำเภอกุดชุมมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทป่าไม้ ภูเขา และแหล่งน้ำ โดยเฉพาะ ป่าไม้และภูเขา มีพื้นที่เป็นจำนวนมาก และบางแห่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เหมาะที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเหมาะสำหรับทีจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- อำเภอกุดชุมไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีลำห้วย ๘ สาย มีน้ำตลอดปีเพียงสายเดียว คือ ลำห้วยโพง ซึ่งไหลผ่าน ๔ ตำบล คือ ต.กุดชุม ต.โนนเปือย ต.กำแมด และ ต.นาโส่ มีอ่างเก็บน้ำตลอดปี ๑๑ แห่ง และยังมีหนองน้ำและฝายกั้นน้ำซึ่งจะมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น
ป่าไม้ อำเภอกุดชุมมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญได้แก่
- ป่ากำแมด มีพื้นที่ ๘,๗๐๐ ไร่
- ป่าโคกหนองบัว-นาทม มีพื้นที่ ๓๐,๙๓๗ ไร่
- ป่าโพธิ์ไทร มีพื้นที่ ๔,๖๓๓ ไร่
- ป่าโพนงาม- ดงปอ มีพื้นที่ ๖๙,๘๖๒ ไร่
- ป่ากุดชุม มีพื้นที่ ๑๙,๐๖๐ ไร่
- ป่าหนองหว้า มีพื้นที่ ๑๐,๖๐๓ ไร่
- ป่าดอนตาแต้ม มีพื้นที่ ๖๐,๕๐๓ ไร่
- ป่าห้วยแสนลึก - หนองหิน มีพื้นที่ ๒๖,๕๒๖ ไร่
ดิน พื้นดินส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินปนทราย ไม่ค่อยอุ้มน้ำ
แหล่งท่องเที่ยว
๑. ในเขตพื้นที่ของตำบลกุดชุม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติดังนี้
๑.๑ ภูหินปูน ตั้งอยู่ห่างจากบ้านนามน ม. ๑๖ ต. กุดชุม ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูเขาที่ทอดยาวเป็นช่วง ๆ จากอำเภอเลิงนกทา ภูมิประเทศบางแห่งมีความละม้ายคล้ายภูผาเทิบ จังหวัดมุกดาหาร บริเวณที่โดดเด่นที่สุด คือปฏิมากรรมหินทรายขนาดใหญ่ฝีมือธรรมชาติ คล้ายเต่ายักษ์โบราณชูคอ จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของภูหินปูน บ้างคล้ายยอดมงกุฎ และรูปสัตว์ประหลาดต่าง ๆ ตามแต่มุมมององศาที่มองดูและจินตนาการของผู้พบเห็น ในหน้าฝน พืชตระกูลหญ้าที่มีดอกสีสรรสวยงามนานาชนิดเจริญงอกงามตามลานหิน ที่มีน้ำไหลผ่าน ซึ่งพบได้ที่ภูผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภูผายล จังหวัดสกลนคร ภูสระดอกบัว จังหวัดมุกดาหาร ให้ความประทับจิตเช่นไร ที่นี่ก็ให้ความประทับใจเช่นนั้น
กิจกรรมที่น่าสนใจ เป็นเส้นทางของจักรยานเสือภูเขา การเดินป่าศึกษาระบบนิเวศวิทยา (Ecological System) เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ทั้งสังคมพืชและสังคมสัตว์น้อยใหญ่ ที่กำเนิดมาและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนบนภูหินปูนแห่งนี้…. จากจุดนี้ข้างหน้าเป็นเส้นทางที่ทอดเลื้อยไปตามความสูงของภู ประมาณ ๒๐๐ เมตร ไปสิ้นสุดที่หน้าผาใหญ่ ซึ่งบริเวณแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์นามพุทธสถานภูหินปูน….
๑.๒ ภูหมากพริก ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม ห่างจากภูหินปูนตามเส้นทางถนนลูกรังประมาณ ๘ กม. ธรรมชิภูแห่งนี้ยังคงความอุดมสมบูรณ์ตามลักษณะของป่าดิบแล้วประกอไปด้วยสมุนไพร และสัตว์ตัวเล็ก ๆ จำพวกกระลอก กระแต กระต่ายป่า ตะกวด ไก่ป่า งู และนก ภูมิประเทศบางช่วงบางตอนคล้ายภูกระดึงจังหวัดเลย ตามลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านลานหิน จะมีปูภูเขาอาศัยอยู่ตามซอกหินริมน้ำ ชาวบ้านเรียกปูชนิดนี้ว่า ปูแป้ง ลักษณะหลังกระดองมีสีม่วง ลำตัวและขามีสีส้ม จาง ๆ และมีลักษณะพิเศษอีกประการคือ ที่ขาจะมีขนขึ้นประปราย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเครื่องหมาย แสดงความสำคัญ ที่ลงตัวของระบบนิเวศได้ทางหนึ่งและมีสถานที่อันที่น่าสนใจซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันคืออ่างปากั้ง จั่นกอบง (แหล่งน้ำซึม) ต้นไทรย่องและถ้ำพระจันทร์ ลักษณะเด่นอีกอย่างของภูหมากพริกคือมีต้นจันทร์ผาที่สวยงามขึ้นตามบริเวณถ้ำที่เป็นหินเทิบขนาดใหญ่ และเป็นที่วิปัสนากรรมฐานของพระภิกษุสงฆ์อันเป็นที่ตั้งของภูหมากพริก
ภูหมากพริกยังเป็นตำนานของจักรยานเสือภูเขาซึ่งทุกปีจะมีการแข่งขันภายใต้ "กุดชุมสู่ภูหมากพริกต้านยาเสพติด" (เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๓) ในแต่ปีจะมีนักแข่งจักรยานเสือภูเขาจากทุกภาคในประเทศ และ ให้การยอมรับว่าเป็นสนามแข่งขันที่มีความประทับใจไม่แพ้ที่อื่น ๆ เลย
๑.๓ ภูถ้ำสิม ตั้งอยู่บ้านทองสัมฤทธิ์ ม.๑๕ ต.กุดชุม เป็นถ้ำที่มีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ มีโขดหินขนาดใหญ่มาก ลักษณะเด่นของถ้ำสิม คือ บริเวณรอบ ๆ ถ้ำ จะมีพืชสมุนไพรบำรุงกำลังหลายชนิดเช่น ต้นพญาเสือโคร่ง ที่มีขนาดต้นใหญ่มาก
๒. ในเขตพื้นที่ของตำบลคำน้ำสร้าง เขตภูเขาของตำบลคำน้ำสร้าง ช่วงปลายฝนต้นหนาวระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงรอยต่อฤดูการปลายฝนต้นหนาวถือว่าเหมาะสมที่สุดในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วยแผ่นดินมีความชุ่มชื้นแต่ไม่ชื้นแฉะเหมาะแก่การเดินทาง อากาศกำลังเย็นสบายไม่ถึงหนาวเหน็บ สายธารน้ำตกยังสาดซ่าได้เห็นสังคมพืชตระกูลหญ้านานาชนิดบนลานหิน เช่น สร้อยสวรรณา ดุสิตา หนาวเดือนห้า กระดุมเงิน กระดุมทอง บัวดิน กำลังผลิดอกสพรั่งงดงามเป็นพิเศษ บริเวณทางน้ำไหลผ่านก่อนจะโรยราตอนสิ้นปี ด้วยบรรยากาศเช่นนี้จึงขอแนะนำและเชื้อเชิญให้ไปท่องเที่ยวที่เขตพื้นที่ตำบลคำน้ำสร้าง ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งอาทิเช่น
๒.๑ ภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต. คำน้ำสร้าง ห่างจากอำเภอกุดชมประมาณ ๑๔ กม. สภาพพื้นที่เป็นลาหินปูนมีปฏิมากรรมหินทรายฝีมือธรรมชาติกระจายกันอยู่ทั่วไป และมีพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดใหญ่และพระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ ประดิษฐานบนเนินหินดูโดดเด่นสดุดตาทัศนียภาพสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง และในช่วงวันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงขึ้นไปสรงน้ำพระ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว
๒.๒ น้ำตกนางนอน เดิมชื่อหลุบปลาผาอยู่ห่างจากวัดภูถ้ำพระประมาณ ๘๐๐ ม. เมื่อถึงที่จอดรถเดินต่อไปอีกประมาณ ๒๐๐ ม. ถึงลำห้วยซึ่งมีน้ำไหลผ่านมาตามลานหินบรรยากาศชุ่มเย็นแวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ช่วงที่เป็นน้ำตก สายน้ำไหลผ่านโขดหินและลดระดับเป็นมุมฉากสู่ลานหินเบื้องล่างถึงจะไม่ยิ่งใหญ่อลังการแต่ก็นับว่าเป็นความสวยงาม ที่ลงตัวทีเดียว นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงกันยังมีถ้ำปลาและถ้ำเจียอันเร้นลับรอคอยผู้มาเยือน
๒.๓ อ่างเก็บน้ำหลุบหนองนอ ตั้งอยู่ในพื้นที่เชิงเขาของบ้านภูถ้ำพระ ม.๕ ต.คำน้ำสร้าง อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี ๒๕๔๔ พื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๕๐ ไร่ สภาพธรรมชาติยังคงสมบูรณ์อยู่มากกิจกรรมที่น่าสนใจคือ ดูนกเป็ดน้ำ ล่องแพ ศึกษาธรรมชาติ เดินป่าชมสวน รูปทรงแปลกตาพร้อมดอกหญ้าบานบนลานหินดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา รวมถึงเส้นทางในการแข่งออฟโรด ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กัน ทุกวันจะมีแม่ค้านำอาหารและเครื่องดื่มมาจำหน่ายด้วย ที่นี่ถือเป็นดาวรุ่งของแหล่งท่องเที่ยวอำเภอกุดชุม
๓. ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองแหน จากอำเภอกุดชุมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๕ กิโลเมตร คือพื้นที่ ตำบลหนองแหนที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๘๒ ตารางกิโลเมตร ด้วยการที่มีแนวภูเขาหินปูนพาดผ่าน จึงก่อให้เกิดภูมิประเทศที่งดงามไปด้วยภูผา หุบเขาผืนป่า ผืนน้ำ ส่ำสัตว์น้อยใหญ่และวัดเชิงภู ส่วนพื้นราบนอกจากการทำนาตามวิถีชีวิตของชาวอีสานแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตยางพารา อ้อย พุทรา และฟักทองบ้านโนนประทายอันเลื่องชื่อ โคขุนก็เป็นหนึ่ง สินค้าประเภท หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ คือกระติบข้าวที่ทำมาจากกกก็กำลังมาแรงด้วยความที่อยู่ห่างไกลตัวอำเภอและถนนหนทางบางช่วงก็ขรุขระไปบ้าง จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวยังมิได้เปิดตัวต่อสาธารณชนมากนักเสมือนหนึ่งมีม่านบังบาง ๆ มาบดบังไว้ในโอกาสนี้จึงใคร่ขอรายงานท่านอย่างคร่าว ๆ ดังนี้
๓.๑ ภูทางเกวียน ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าอ่างกกกุง เป็นส่วนหนึ่งของแนวภูหินปูน ภูแห่งนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดิบแล้ง และทุ่งหญ้าตามลานหิน จากยอดภูจะมองเห็นภูผาขาว ภูอีด่าง ภูจ้อก้อ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งของวัดภูทางเกวียน จากเชิงเขามีทางขึ้นวัดได้ ๒ ทาง เส้นทางแรกเป็นทางเดินไปตามบันไดคอนกรีต ส่วนเส้นทางที่สองเป็นถนนคอนกรีต ซึ่งสามารถขับรถยนต์ถึงบริเวณวัดได้อย่างสะดวกสบาย สาเหตุที่เรียกกันว่า ภูทางเกวียน นี้ เนื่องจากบนภูเขามีร่องหินสองร่องขนานกัน คล้ายรอยล้อเกวียน โดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีผู้นำเกวียนบรรทุกของมีค่ามาซุกซ่อนไว้ ณ บริเวณแห่งนี้ ในอดีตจึงมีผู้พยายามขุดค้นหาของมีค่าและวัตถุโบราณกัน เพราะความสวยงามของภูแห่งนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอกุดชุม ที่ว่า " งามนิมิตภูทางเกวียน " และหากมาเยือนช่วงปลายฝนต้นหนาว ท่านจะได้พบกับวัฏจักรธรรมชาติ ของภูทางเกวียนภาคอีสาน คือ ทุ่งดอกหญ้าบนลานหินด้วย
๓.๒ อ่างเก็บน้ำกกกุง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.หนองแหน มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ ๑๐๐ ไร่ ห่างจากตัวอำเภอกุดชุมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร อยู่ระหว่างภูทางเกวียน และภูเพ แหล่งน้ำแห่งนี้อุดมไปด้วยปลาธรรมชาติ และปลาที่หน่วยงานกรมประมงนำมาปล่อย ในอนาคตอันใกล้นี้หวังว่าจะมีผลผลิตจากกุ้งก้ามกรามอีกด้วย เพราะเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๕ ที่ผ่านมานี้ ท่านสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดยโสธร นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ร่วมกับนายอำเภอกุดชุม และ อบต. หนองแหน ได้ร่วมกันปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามเป็นจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัว เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุด ของตำบลหนองแหน ประกอบกับทัศนียภาพโดยรอบเป็นภูเขาและป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง อ่างกกกุงจึงเปรียบดุจเพชรเม็ดงามที่ซุกซ่อนอยู่กลางป่าเขา เฝ้ารอคอยเพื่อมอบความประทับใจแด่ผู้มาเยือน
กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การเดินป่า การตกปลา ตั้งแค้มปิ้งหรือนั่งเรือชมอ่างเก็บน้ำ
๓.๓ ภูผาขาว เป็นส่วนหนึ่งของภูหินปูน มองเห็นแต่ไกล ลักษณะเป็นหน้าผาสีขาวโดดเด่น ส่วนที่เชิงภูเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ภูผาขาว ซึ่งมีศาลาหลังใหญ่สร้างใต้แนวหินเทิบยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร บรรยากาศโน้นน้าวความรู้สึกให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของขุนเขา ชาวบ้านที่คุ้นเคยกับพื้นที่มักจะขึ้นไปหาของป่า ตามเส้นทางนี้
๓.๔ ดานยาว (สนามฮอ) ห่างจากสำนักสงฆ์ภูผาขาว ด้วยระยะทางเท้าคดเคี้ยวไปตามสันภูประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นลานหินขนาดใหญ่มากคำนวณด้วยสายตาคงมีพื้นที่ขนาดสนามฟุตบอล ๒ สนามต่อกัน ดารดาษไปด้วยทุ่งดอกหญ้าบนลานหิน โดยเฉพาะดอกกระดุมเงินจะมีมากเป็นพิเศษ ที่นี่เป็นแหล่งอาหารของกระต่ายป่า ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปหมด นอกจากนี้ยังเป็นจุดลงเฮลิคอปเตอร์ของกรมป่าไม้ที่มาดำเนินการดับไฟป่า โดยมีสัญลักษณ์เครื่องหมายวงกลมสีขาวขนาดใหญ่ ภายในทาสีแสด ลักษณะคล้ายพยัญชนะตัวไอ (ตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ)
กิจกรรมที่น่าสนใจ การเดินป่าท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่วนการตั้งเต้นพักแรมก็เป็นกิจกรรมที่ท้าทายให้ความรู้สึกเหมือนบรรยากาศที่ภูกระดึง แต่ต้องระมัดระวังผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมดั้งเดิมด้วย
๓.๕ ดานฮังริน ตั้งอยู่ไหล่เขาลักษณะเป็นลานกว้าง ห่างจากดานยาว ประมาณ ๗๐๐ เมตร โดยการเดินย่ำขึ้นย่ำลงไปตามภูมิประเทศป่าดิบแล้ง ที่ยังคงความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ดานแห่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งความสุดยอด เห็นความหลากหลายของสังคมพืช ภาพเบื้องหน้าเป็นทุ่งดอกกระเจียวขึ้นสลับกับทุ่งหญ้าภูเขาชนิดต่าง ๆ ต้นรังตัวผู้ - ตัวเมีย ขึ้นเป็นหย่อม ๆ บางต้นใบสีแดงบางต้นใบสีขาว มองไปรอบตัวเห็นภูล้อมรอบ ๓๖๐ องศา อยู่ใกล้ ๆ ราวกับมือจะเอื้อมถึงและที่นี่เป็นต้นน้ำ " ฮ่องฮังริน " ลักษณะเป็นร่องน้ำที่ไหลผ่านโขนหินน้อยใหญ่รูปทรงแปลกตา เป็นแนวคดเคี้ยวทอดต่ำลงสู่ตีนภู
นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวเด่น ๆ ที่ภูแห่งนี้อีกเป็นอันมาก เช่น น้ำตกร่องตลาด ถ้ำเจีย ผาเฟิร์น ผาผึ้ง หากท่านผู้ใดใคร่จะสัมผัสกับธรรมชาตที่สุดแสนงดงามมหัศจรรย์ของภูเขา ตำบลหนองแหน โปรดติดต่อและประสานคนนำทาง (มัคคุเทศก์ท้องถิ่น) ได้ที่ อบต.หนองแหน หรือผู้ใหญ่บ้านหนองแหนก็ได้
แหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีที่พักและร้านขายอาหารสำหรับนักท่องเที่ยว
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม ; สิงหาคม ๒๕๔๖






ประวัติอำเภอทรายมูล

ประวัติความเป็นมา
บ้านทรายมูล ซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอทรายมูลในปัจจุบัน เดิมเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก (ของตัวอำเภอในปัจจุบัน ) และอยู่ห่างจากหมู่บ้านทรายมูลในปัจจุบัน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน ราษฎรจึงได้อพยพย้ายครัวเรือนมาอาศัยและทำมาหากินอยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านแห่งใหม่ ซึ่งก็คือบริเวณหมู่บ้านทรายมูลในขณะนี้ โดยในครั้งนั้นราษฎรได้นำทรายและดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคลหลายแห่ง มาโปรยรอบบริเวณหมู่บ้านแห่งใหม่ เพื่อขับไล่โรคระบาด ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งใหม่นี้ว่า " หมู่บ้านทรายมูล " โดยขณะนั้นมีเขตการปกครองขึ้นอยู่กับอำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี
เ ต่อมาหมู่บ้านทรายมูลได้รับการยกฐานะเป็นตำบลทรายมูล และในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับการประกาศเป็นเขตสุขาภิบาลทรายมูล ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๘ กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอทรายมูล โดยแยกพื้นที่ตำบล ๔ ตำบลของอำเภอเมืองยโสธร คือตำบลทรายมูล ดู่ลาด ดงมะไฟและตำบลนาเวียง ขึ้นกับกิ่งอำเภอทรายมูล ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ตำบลไผ่ อำเภอกุดชุม จึงได้แยกมาขึ้นอยู่กับกิ่งอำเภอทรายมูล ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๗ กิ่งอำเภอทรายมูลได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร และสุขาภิบาลทรายมูล ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลทรายมูล เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ๑. นายสุวรรณ เกษทอง พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๔ ๒. นายสุรพันธุ์ เงินหมื่น พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖ ๓. นายพิทยา สุนทรวิภาค พ.ศ. ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗ ๔. นายเจด็จ มุสิกวงค์ พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๗
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. นายเจด็จ มุสิกวงศ์ ๒๗ ก.ค. ๒๕๒๗ - ๔ ต.ค. ๒๕๒๘ ๒. นายประวิตร อังศุนาค ๗ ต.ค. ๒๕๒๘ - ๑๕ ต.ค. ๒๕๓๐ ๓. นายนพปฎล เสาสูง ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๐ - ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๒ ๔. นายเธียรชัย บุญเพชร ๒๔ ต.ค. ๒๕๓๒ - ๙ ต.ค. ๒๕๓๕ ๕. นายชีวิต แก้ววัฒนะ ๑๒ ต.ค. ๒๕๓๕ - ๕ พ.ย. ๒๕๓๖ ๖. นายสว่าง อักษรศิริ ๘ พ.ย. ๒๕๓๖ - ๑ ก.ค. ๒๕๓๗ ๗. นายก้อง บุญประดับ ๔ ก.ค. ๒๕๓๗ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๘ ๘. นายสมยศ เจริญศิริ ๑ พ.ย. ๒๕๓๘ - ๒๑ พ.ย. ๒๕๔๒ ๙. นายประมวล รัตนสุคนธ์ ๒๙ พ.ย. ๒๕๔๒ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๕ ๑๐. นายวีระวัฒน์ วงศ์ว่องไว ๒๓ ธ.ค. ๒๕๔๕ - ๓๑ ต.ค. ๔๗ ๑๑. นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ๑ พ.ย. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอทรายมูล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดยโสธร บนทางหลวงแผ่นดินเลขที่ ๒๑๖๙ ระยะห่างจากจังหวัด ๑๘ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง ๕๔๙ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๒๗๒.๗๗ ตร.กม. หรือ ๑๗๐,๔๘๑.๒๕ ไร่ พื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น จำนวน ๑๐๑,๒๔๑ ไร่ โดยจำแนกออกเป็น
- พื้นที่ทำนา โดยปลูกข้าวเจ้า + ข้าวเหนียว ๘๔,๓๗๓ ไร่
- พื้นที่ทำไร่ ๙,๐๕๑ ไร่
- พื้นที่ทำสวนฯลฯ ๗,๘๑๗ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒๒๗ ฟุต (๖๘๑ เมตร) ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน พื้นดินส่วนมากเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ จึงมีความแห้งแล้ง ปลูกพืชได้ไม่กี่ชนิด หากปีใดฝนตกมากน้ำจะไหลบ่าท่วมไร่นาเกิดความเสียหาย หากปีใดฝนตกปริมาณพอดี จะปลูกพืชผลได้ดี โดยเฉพาะข้าว
๔. สภาพภูมิอากาศ
เป็นไปตามอิทธิพลลมมรสุมที่พัดผ่าน มี ๓ ฤดู ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึง เดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านและพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ จึงทำให้มีฝนตกทุกปี
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาว กระแสลมแรง
- ปริมาณฝนตกในห้วง ๘ เดือนของปี (มกราคม ถึง ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๖) จำนวน ๘๘๑.๔ มม.
ประชากร
ประชากรมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๒,๔๗๔ คน (รวมทั้งในเขตเทศบาล) แยกเป็นชายจำนวน ๑๖,๒๔๓ คน แยกเป็นหญิง จำนวน ๑๖,๒๓๑ คน บ้านมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๖,๙๑๓ หลัง (รวมทั้งในเขตเทศบาล) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตารางแสดงจำนวนประชากรและบ้านนอกเขตเทศบาล
ตำบล
ประชากร (คน)
บ้าน (หลัง)
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลทรายมูล ๒. ตำบลดู่ลาด ๓. ตำบลดงมะไฟ ๔. ตำบลนาเวียง ๕. ตำบลไผ่
๒,๙๐๐๒,๒๗๕๓,๐๑๔๒,๐๓๔๒,๙๙๐
๒,๘๐๖๒,๓๓๗๒,๙๔๓๒,๐๔๓๒,๙๙๑
๕,๗๐๖๔,๖๑๒๕,๙๕๗๔,๐๗๗๕,๙๘๑
๑,๑๕๙๑,๐๓๓๑,๑๙๔๘๐๐๑,๒๓๐
รวม
๑๓,๒๑๓
๑๓,๑๒๐
๒๖,๓๓๓
๕,๔๑๖
ในเขตเทศบาล
- มีประชากรรวมทั้งสิ้น ๖,๑๔๑ คน เป็นชาย ๓,๐๓๐ คน หญิง ๓,๑๑๑ คน
- มีจำนวนบ้านรวมทั้งสิ้น ๑,๔๙๗ หลัง
การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๕ ตำบล ๔๗ หมู่บ้าน โดย ๒ หมู่บ้านเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างเขตหมู่บ้านกับเขตเทศบาล เทศบาลตำบล ๑ แห่ง (มี ๘ ชุมชน) องค์การบริหารส่วนตำบล ๕ แห่ง หมู่บ้าน อพป. ๑๖ หมู่บ้าน ดังนี้
๑. ตำบลทรายมูล มี ๑๐ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๖ และหมู่ที่ ๑๓
๒. ตำบลดู่ลาด มี ๑๒ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านอพป. ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๕ , ๖ , ๗ และหมู่ที่ ๑๑
๓. ตำบลไผ่ มี ๙ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑/๒ , หมู่ที่ ๓/๔ , ๖ และหมู่ที่ ๘
๔. ตำบลดงมะไฟ มี ๙ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑/๘ , ๒ และหมู่ที่ ๓
๕. ตำบลนาเวียง มี ๗ หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน อพป. ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ , ๒ และหมู่ที่ ๔
หมายเหตุ
ตำบลไผ่
- บ้านสร้างช้าง มี ๒ หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๒รวมเป็นหมู่บ้าน อพป. ๑ หมู่บ้าน
- บ้านไผ่ มี ๒ หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๔ รวมเป็นหมู่บ้าน อพป. ๑ หมู่บ้าน
ตำบลดงมะไฟ
- บ้านดงมะไฟ มี ๒ หมู่บ้าน คือหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๘ รวมเป็นหมู่บ้าน อพป. ๑ หมู่บ้าน
- เทศบาลตำบล ๑ แห่ง คือ เทศบาลตำบลทรายมูล มี ๘ ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านใต้ , บ้านกลาง , บ้านเหนือ , คำผือ , ตลาดสด , ศรีบุญลือ , สระแก้ว และชุมชนโนนสะอาด
- องค์การบริหารส่วนตำบล ๕ แห่ง ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้นที่ ๕ ทั้ง ๕ แห่ง ได้แก่
๑) องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล
๒) องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ลาด
๓) องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่
๔) องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ
๕) องค์การบริหารส่วนตำบลนาเวียง
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและมีหน่วยไฟฟ้าเป็นหน่วยดำเนินการในพื้นที่ มีครัวเรือนที่มีกระแสไฟฟ้าใช้ รวมทั้งสิ้น ๕,๗๙๒ ครัวเรือน ดังนี้
- นอกเขตเทศบาล จำนวน ๔,๔๒๒ ครัวเรือน (ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๑๗๑ ครัวเรือน)
- ในเขตเทศบาล จำนวน ๑,๓๗๐ ครัวเรือน (มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน)
ประปา
อำเภอทรายมูลไม่มีระบบบริการประปาส่วนภูมิภาค เนื่องจากปริมาณแหล่งน้ำไม่เพียงพอ แต่มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน ๓๐ แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ของประชาชน
บ่อน้ำบาดาลและบ่อน้ำตื้น
บ่อบาดาล
- สาธารณะ ๑๓๐ แห่ง
- ส่วนตัว ๓๘ แห่ง
บ่อน้ำตื้น
- สาธารณะ ๑๒๐ แห่ง
- ส่วนตัว ๒๙๐ แห่ง
การสื่อสาร
๑) มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ๑ แห่ง (มีบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ)
๒) มีโทรศัพท์สาธารณะและโทรศัพท์ตำบลทุกตำบล มีวิทยุสื่อสารระหว่างที่ทำการปกครองจังหวัด - อำเภอ และมีวิทยุสื่อสารในเครือข่ายระหว่างสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกับสถานีอนามัย
๓) สามารถรับฟังสถานีวิทยุทั้งระบบ เอ เอ็ม , เอฟ เอ็ม (๓ สถานี) จากจังหวัดยโสธรได้ชัดเจน
การคมนาคม
- มีเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอทรายมูล ถึงอำเภอต่างๆ ของจังหวัดยโสธร เป็นถนนราดยางตลอดสายที่ใช้ได้ทุกฤดูกาล
- มีเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรังและราดยางในบางช่วงซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทุกหมู่บ้าน แต่มีถนนบางสายไม่สามารถใช้ได้ในฤดูฝน
- มีรถยนต์โดยสารขนาดเล็กบริการอำเภอ - จังหวัดยโสธร และมีบริการของรถยนต์โดยสารจากอำเภอเลิงนกทา - จังหวัดยโสธร
แหล่งน้ำ
ในเขตพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง จะมีเฉพาะลำห้วยเล็ก ๆ ไหลผ่านตามตำบล หมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดปี
เศรษฐกิจ อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรอำเภอทรายมูล มีอาชีพทางเกษตรกรรม สภาพสังคมจึงเป็นแบบสังคมเกษตรกรรม ค่านิยมยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
- ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก ทำนา ทำไร่
- อาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นอาชีพเสริมได้แก่ การทอผ้า การทำหมอนขิด การจักสาน เป็นต้น
- นอกจากนี้ประชากรส่วนหนึ่งได้ไปประกอบอาชีพที่กรุงเทพ ฯ เช่น รับจ้างเป็นกรรมกรก่อสร้าง ค้าขายอาหารพื้นเมืองได้แก่ ข้าวเหนียวส้มตำ ไก่ย่าง ฯลฯ โดยมิได้ย้ายภูมิลำเนาไปอย่างถาวร จะกลับมาเยี่ยมญาติพี่น้องก็ในช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ ฯลฯ
- รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อคนต่อปีของอำเภอทรายมูล ๒๓,๕๙๓ บาท ดังนี้
๑) ตำบลไผ่ ๒๖,๓๒๐ บาท
๒) ตำบลดู่ลาด ๒๖,๐๘๓ บาท
๓) ตำบลทรายมูล ๒๒,๓๐๐ บาท
๔) ตำบลนาเวียง ๒๑,๗๒๗ บาท
๕) ตำบลดงมะไฟ ๒๐,๑๓๕ บาท
ตารางแสดงข้อมูลการเกษตร / การปลูกพืชเศรษฐกิจอำเภอทรายมูล
ตำบล
พื้นที่ทำนา (ไร่)
พื้นที่ปลูกจริง (ไร่)
รวม
ผลผลิต (กก./ไร่)
มันสำปะหลัง (ไร่)
ปอแก้ว (ไร่)
อ้อยโรงงาน (ไร่)
ข้าวเจ้า
ข้าวเหนียว
ข้าวเจ้า
ข้าวเหนียว
ทรายมูล ดู่ลาด ดงมะไฟ นาเวียง ไผ่
๒๓,๔๘๐๑๗,๙๒๖๑๕,๒๕๖๑๔,๔๕๑๑๔,๕๑๑
๑๐,๖๐๑๑๐,๖๔๗๔,๘๐๐๖,๗๙๐๘,๔๒๑
๑๑,๙๕๔๗,๑๕๕๑๐,๒๕๖๗,๖๕๙๖,๐๙๐
๒๒,๕๕๕๑๗,๘๐๒๑๕,๐๕๖๑๔,๔๔๙๑๔,๕๑๑
๔๗๐๕๔๖๕๗๗๔๒๒๕๐๔
๔๙๕๖๓๙๖๕๑๔๕๐๕๕๐
๑,๓๖๐--๓,๓๒๘๙๓๑๑,๘๕๐
----๔๐๑๐๒๕
----๑,๕๐๗----
รวม
๘๕,๗๒๔
๔๑,๒๕๙
๔๓,๑๑๔
๘๔,๓๗๓
๕๐๔
๕๕๗
๗,๔๖๙
๗๕
๑,๕๐๗
หมายเหตุ
๑. ผลผลิตมันสำปะหลัง ๒,๔๐๐ กก / ไร่
๒. ผลผลิตปอแก้ว ๑๘๐ กก / ไร่
๓. ผลผลิตอ้อยโรงงาน ๑๕ ตัน / ไร่
การถือครองที่ดิน ปี ๒๕๔๖
๑. ที่สาธารณะประโยชน์ จำนวน ๑๘๐ แปลง เนื้อที่ ๕,๖๒๓ - ๑ - ๕๑ ไร่
๒. มีโฉนด จำนวน ๗,๘๑๒ แปลง เนื้อที่ ๖๒,๓๕๓ - ๐ - ๒๑ ไร่
๓. มี น.ส.๓ ก. จำนวน ๕,๒๑๔ แปลง เนื้อที่ ๑๖,๗๔๑ - ๓ - ๔๗ ไร่
๔. มี น.ส.๓ จำนวน ๖๑๙ แปลง เนื้อที่ ๘,๗๘๑ - ๓ - ๖๐ ไร่
๕. สค.๑ จำนวน ๗,๖๑๒ แปลง เนื้อที่ - ไร่
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
๑. ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านโสกผักหวาน หมู่ที่ ๔ , ๖ ตำบลดู่ลาด
๒. มวยนึ่งข้าว บ้านดอนเขือง หมู่ที่ ๑๑ ตำบลทรายมูล
๓. เสื่อกก บ้านโป่ง หมู่ที่ ๒ ตำบลนาเวียง
๔. ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านดอนนกชุม หมู่ที่ ๗ ตำบลดงมะไฟ
๕. สุ่มไก่ บ้านสร้างช้าง หมู่ที่ ๑ , ๒ ตำบลไผ่
๖. ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาเวียง หมู่ที่ ๑ ตำบลนาเวียง
๗. ผ้าห่ม บ้านไผ่ หมู่ที่ ๓ , ๔ ตำบลไผ่
๘. ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ บ้านกุดกว้าง หมู่ที่ ๒ ตำบลดงมะไฟ
สังคม
การศึกษา
- ในระบบโรงเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น ๔,๗๙๖ คน / ครู ๓๑๙ คน ดังนี้
๑) โรงเรียนประถมศึกษา ๒๕ โรงเรียน / นักเรียน ๒,๗๓๗ คน
๒) โรงเรียนขยายโอกาส ๕ โรงเรียน / นักเรียน ๓๓๕ คน
๓) โรงเรียนมัธยมศึกษา ๒ โรงเรียน / นักเรียน ๑,๗๒๔ คน
อนึ่ง จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำให้สำนักงานศึกษาธิการอำเภอทรายมูล สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอทรายมูล โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่อำเภอทรายมูล ได้เข้าไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๒ ตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นมา
- นอกระบบโรงเรียน ได้แก่ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทรายมูล ปัจจุบันมีนักศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งสิ้น ๔๒๒ คน ดังนี้
๑) ระดับประถมศึกษา ๑๖ คน
๒) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑๒๕ คน
๓) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๒๘๑ คน
- ห้องสมุดประจำอำเภอ ๑ แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนระดับประถม (ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด) มี ๗ แห่ง เด็กในความรับผิดชอบ ๓๖๐ คน / ครูพี่เลี้ยง ๑๗ คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ๕ แห่ง เด็กในความรับผิดชอบ ๑๕๑ คน / ผู้ดูแลเด็ก ๘ คน
การพัฒนาชุมชน
๑. โครงการกองทุนหมู่บ้าน / ชุมชนเมือง
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการกองทุนหมู่บ้าน / ชุมชนเมือง รวม ๕๓ ล้านบาท มีสมาชิกกองทุนฯ รวมทั้งสิ้น ๔,๑๗๒ คน และคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน / ชุมชนเมืองได้ให้การอนุมัติให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งสิ้น ๒,๖๓๕ ราย ( คน )
๒. กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นประจำปี ๒๕๔๖
๒.๑ ได้รับรางวัลชนะเลิศกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดีเด่น ระดับจังหวัดประจำปี ๒๕๔๖ จำนวน ๒ หมู่บ้าน คือ
(๑) บ้านสีสุก หมู่ที่ ๕ ตำบลดู่ลาด รับเงินรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อม โล่เกียรติยศ
(๒) บ้านสร้างช้าง หมู่ที่ ๑ ตำบลไผ่ รับโล่เกียรติยศ (รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑)
๒.๒ กลุ่มออมทรัพย์ดีเด่นระดับจังหวัด ได้แก่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสร้างช้าง หมู่ที่ ๑ , ๒ ตำบลไผ่
๒.๓ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๖ นางประยูร เวฬุวนารักษ์ หมู่ที่ ๑ ตำบลไผ่
๒.๔ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๖ บ้านสร้างช้าง หมู่ที่ ๑ , ๒ ตำบลไผ่
๓. ข้อมูลพัฒนาชุมชนในด้านทั่วไปที่สำคัญ ได้แก่
๓.๑ หมู่บ้านโครงการแก้ไขความยากจน มี ๓๓ หมู่บ้าน / สมาชิก ๑,๐๕๗ คน / เงินทุน ๙,๒๔๐,๐๐๐ บาท
๓.๒ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มี ๓๐ กลุ่ม / สมาชิก ๒,๔๗๙ คน / เงินทุน ๑,๒๔๗,๒๔๔ บาท
๓.๓ ศูนย์สาธิตการตลาด มี ๑๑ แห่ง / สมาชิก ๒,๔๗๙ คน / เงินทุน ๑,๐๔๔,๑๓๔ บาท
๓.๔ ศูนย์เยาวชนตำบล มี ๕ แห่ง / สมาชิก ๔๕ คน / เงินทุน ๑๙๕,๐๐๐ บาท
๓.๕ กลุ่มสตรี มี ๕ กลุ่ม / สมาชิก ๓๘๗ คน / เงินทุน ๓๗๐,๐๐๐ บาท
๓.๖ กลุ่มเยาวชน เลี้ยงเป็ด , ไก่ , สุกร มี ๑๑ กลุ่ม / สมาชิก ๑๓๐ คน / เงินทุน ๒๑๓,๐๐๐ บาท
การรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
- ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรอำเภอทรายมูล (โดยมีที่ทำการตำรวจชุมชน ประจำตำบล ๒ แห่ง ได้แก่ ตชต . ไผ่ / ตชต. ดงมะไฟ)
- อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งสิ้น ๗๐ นาย : ระดับสัญญาบัตร ๖ นาย / ระดับประทวน ๖๔ นาย
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
- มีวัด ๓๔ วัด พระสงฆ์ ๑๔๕ รูป / สามเณร ๑๓๔ รูป ดังนี้
- วัดมหานิกาย มี ๓๓ วัด พระสงฆ์ ๑๔๑ รูป / สามเณร ๑๓๔ รูป
- วัดธรรมยุติ มี ๑ วัด พระสงฆ์ ๔ รูป
สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
๑ โรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- อัตรากำลังประกอบด้วย แพทย์ 3 คน / บุคลากรทางการแพทย์ + พยาบาล 49 คน
๒. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- สถานีอนามัย ๑๐ แห่ง อัตรากำลังประกอบด้วย บุคลากรทางการบริหาร + สาธารณสุข รวม ๓๙ คน
๓. ภาคเอกชน
- สถานพยาบาลแผนปัจจุบัน ประเภทไม่มีเตียง สาขาผดุงครรภ์ ๑ แห่ง
- ร้านจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน เฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ๒ แห่ง
- ร้านจำหน่ายยาแผนโบราณ ๑ แห่ง
การส่งเสริมสหกรณ์
มีสหกรณ์ในการส่งเสริม ๑ ประเภท รวม ๑ สหกรณ์ คือ สหกรณ์การเกษตรทรายมูล สมาชิกจำนวน ๒,๓๕๐ คน เงินทุนหมุนเวียนปี ๒๕๔๖ จำนวน ๖๐.๕ ล้านบาท มีกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
๑. ธุรกิจสินเชื่อ จ่ายเงินกู้ให้แก่สมาชิกระหว่างปี ๒๗ ล้านบาท
๒. ธุรกิจการซื้อ ซื้อน้ำมัน วัสดุการเกษตร + ปุ๋ย ๓๐ ล้านบาท
๓. ธุรกิจการขาย รวบรวมข้าวจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปเพื่อจัดจำหน่าย มูลค่า ๓๓ ล้านบาท
๔. การรับฝากเงิน แยกเป็น
- ออมทรัพย์ จำนวน ๑๓ ล้านบาท
- ออมทรัพย์พิเศษ จำนวน ๓๖ ล้านบาท
การจัดเก็บภาษีสรรพากร (ประจำปี ๒๕๔๕) ของหน่วยจัดเก็บย่อยทรายมูล
ประมาณการจัดเก็บตั้งเป้าไว้ จำนวน ๑,๕๓๘,๐๐๐.๐๐ บาท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน ๔๒๑,๕๕๒.๑๓ บาท
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวน ๗๔๖,๒๗๖.๕๒ บาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน ๖๓๑,๓๕๓.๐๒ บาท
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ จำนวน ๑๕,๙๓๒.๗๓ บาท
- ภาษีการค้า จำนวน - บาท
- อากรแสตมป์ จำนวน ๒๔,๗๗๗.๐๐ บาท
- ค่าปรับภาษีอากร จำนวน ๑๗,๐๐๐.๐๐ บาท
- รายได้อื่นๆ จำนวน - บาท
รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑,๘๕๖,๘๙๑.๔๐ บาท
อนึ่ง สำหรับหน่วยจัดเก็บย่อยทรายมูลได้ยุบไปรวมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองยโสธร ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นมา
การพาณิชย์
๑. การค้า ในท้องที่อำเภอทรายมูล ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยประกอบการค้าขายในเขตเทศบาลตำบลทรายมูล โดยมีการซื้อขายกันที่ตลาดสดเทศบาลและเขตเทศบาล สำหรับสินค้าที่เป็นผลผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว , มันสำปะหลัง , แตงโม , ถั่วลิสง เป็นต้น
๒. การธนาคาร มีธนาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ ๑ แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ( ธกส .)
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่
- ป่าห้วยแสนลึกและป่าหนองหิน อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลไผ่
- ป่าดงมะไฟ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลดงมะไฟ , ดู่ลาดและทรายมูล
- ป่าทรายมูลและป่าทุ่งแต้ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลทรายมูล
- ป่าดอนหัวนา อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลทรายมูล
- ป่าหนองหว้า อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลนาเวียง
แหล่งท่องเที่ยว
๑. พระธาตุฝุ่น ตั้งอยู่ที่วัดป่าพระธาตุฝุ่นบ้านทรายมูล หมู่ที่ ๑๔ ตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล ห่างจากที่ว่าการอำเภอทรายมูลประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่สร้างปี พ.ศ. ใดไม่มีหลักฐาน องค์พระธาตุเก่าได้ปรักหักพังลงจนเหลือเพียงกองอิฐสูงประมาณ ๔ ม. ฐานกว้าง ๔ x ๔ เมตร ชื่อ " พระธาตุฝุ่น " เรียกตามโบราณวัตถุสำคัญที่ค้นพบในองค์พระธาตุ ซึ่งมีลักษณะเป็นผงฝุ่น ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเข้าใจว่าอาจเป็นเถ้าอัฐิธาตุของพระอรหันต์รูปใดรูปหนึ่ง ปัจจุบันได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นแทนองค์เดิมโดยใช้แบบแปลนของกรมศิลปากรและงบประมาณก่อสร้างจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร (เมื่อปี ๒๕๓๘) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุองค์เดิม ฐานกว้าง ๔ x ๔ เมตร สูงประมาณ ๑๖ เมตร นับจากฐานราก
ประเพณีการสักการะและสรงน้ำองค์พระธาตุฝุ่นของท้องถิ่น ได้กำหนดไว้ในวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี
๒. หอไตรประวัติศาสตร์ (หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ ) ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดสระไตรนุรักษ์ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ห่างจากที่ว่าการอำเภอทรายมูล ๒๔ กิโลเมตร จากหลักฐานที่ค้นพบในใบสำรวจวัด ระบุตั้งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๐๐๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ. ศ. ๑๙๑๙ - ๒๐๓๑) จากคำบอกเล่า ชาวลาวก้อได้อพยพภัยสงครามจากบ้านสามหมื่นภูเพียงแห่งราชอาณาจักรลาว โดยการนำของยาคูหลักคำ ได้อพยพผู้คนข้ามแม่น้ำโขง ผ่านหนองบัวลุมบัว บ้านหนองชุนใหญ่ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด) จนได้มาตั้งหลักแหล่งชุมชนที่ห้วยค้อ (ที่อยู่ปัจจุบัน) และได้สร้างวัดขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน โดยได้สร้างศาลากลางน้ำ สำหรับเก็บตู้หนังสือ พระศาสนา เรียกชุมชนตนเองว่า " หมู่บ้านคำแค " ต่อมาบ้านคำแคได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น " บ้านสระเวียง " และเปลี่ยนมาเป็น " บ้านนาเวียง " จนถึงปัจจุบัน
หอไตรกลางน้ำแห่งนี้ได้รับการซ่อมแซมก่อสร้างใหม่ใน พ.ศ.๒๔๖๓ , ๒๕๒๐
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ กรมศิลปากรได้ออกสำรวจและประกาศขึ้นทะเบียนหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ เป็นโบราณสถานของชาติ ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่ เป็นอาคารไม้กว้าง ๘.๓๐ เมตร หลังคา ๔ ชั้น มุงสังกะสี ต่อมาสระน้ำแห้งขอดเป็นประจำทุกปี ปลวกได้ขึ้นไปทำลายหอไตร ฯ เสียหาย ทางหมู่บ้านจึงรายงานกรมศิลปากรเพื่อของบประมาณบูรณะซ่อมแซม
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ กรมศิลปากร โดยหน่วยศิลปากรที่ ๖ ได้ออกแบบแปลนบูรณะซ่อมแซมหอไตร ฯ และได้จัดสรรงบประมาณจำนวน ๑,๐๙๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมหอไตร ประวัติศาสตร์ (หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์) โดยคงลักษณะเดิมไว้ อนึ่ง ภายในหอไตร ฯ แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ หนังสือพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่บันทึกไว้ในใบลาน จำนวน ๑๙๘ มัด โดยผูกเก็บไว้ในตู้ซึ่งมีลักษณะรูปหลังช้างมีลวดลาย , พระเสี่ยงทาย , เมล็ดข้าวใหญ่ (ทำจากไม้ยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร) , พระงา , พระนอ (แกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทำจากนอแรดแท้) , โหวตหอยสังข์ (เขากวางหด) , ผ้าขิดโบราณ เป็นต้น
๓. ใบเสมาหิน ปรากฎอยู่เหนือพื้นดินและขุดพบบางส่วน ที่วัดบ้านค้อ หมู่ที่ ๙ ตำบลไผ่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอทรายมูล ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร บริเวณที่พบใบเสมาหินมีลักษณะเป็นเนินขนาดใหญ่ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ลักษณะใบเสมาเป็นใบเสมาศิลาแลง และใบเสมาหินทราย ซึ่งจากการตรวจของเจ้าหน้าที่สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี สันนิษฐานว่าเป็นแบบที่สร้างขึ้นตามศิลปะทวาราวดี ซึ่งมีอายุในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ และใบเสมาที่พบมีอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง หากได้มีการสำรวจตรวจสอบเพิ่มเติมคงจะพบอีกเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานที่พบของการปักใบเสมาดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าบริเวณเนินดินที่ขุดพบใบเสมาหิน เป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรม หรือพิธีในด้านความเชื่อถือของคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแห่งนี้เมื่อครั้งในอดีต
ปัจจุบัน ใบเสมาหินที่พบปรากฎอยู่พ้นพื้นดินจำนวน ๒ ชิ้น และที่เก็บรักษาไว้ที่วัดศิริมงคล บ้านค้อ หมู่ที่ ๙ ตำบลไผ่ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
๑. ใบเสมาหินศิลาแลงรูป ๘ เหลี่ยม ยาวประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
๒. ใบเสมาหินทราย จำนวน ๔ ชิ้น ชิ้นที่ยังปรากฎรายละเอียดมากที่สุดกว้างประมาณ ๗๒ เซนติเมตร ยาว ๑๐๕ เซนติเมตร ด้านหนึ่งแกะสลักเป็นรูปสถูปตรงกลางตามแบบใบเสมาที่พบทั่วไปในภาคอีสาน ด้านหลังเรียบ ส่วนชิ้นส่วนใบเสมาอีก ๓ ชิ้น มีสภาพแตกชำรุด
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอทรายมูล ; สิงหาคม ๒๕๔๖






ประวัติอำเภอคำเขื่อนแก้ว

ประวัติความเป็นมา

อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ ชื่ออำเภออุทัยยโสธร ตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลลุมพุก หมู่ที่ ๒
ปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจากอุทัยยโสธรเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่งเป็นชื่อตำบลในเขตอำเภอชานุมานจังหวัดอุบลราชธานี
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอคำเขื่อนแก้วเป็นอำเภอลุมพุก และเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๖ ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอลุมพุกเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้วอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาในปีพุทธสักราช ๒๕๑๕ ทางราชการได้ตั้งจังหวัดยโสธรขึ้น โดยแยกจากจังหวัดอุบลราชธานี และได้รวมเอาอำเภอคำเขื่อนแก้วมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. เจ้าเหลี่ยม ณ จำปาศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๖ ๒. พระวาริน วีระศักดิ์ (แถบ สาครวาสี) พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗ ๓. หลวงแก้วกาญจนเขตร์ (ม.ร.ว.คอย อรุณวงศ์) พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๕๘ ๔. หลวงศักดิ์รัตนาเขต (เฉ็ง นิยมวัน) พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๒ ๕. หลวงศักดิ์คณานุการ (แฉล้ม สมิตะมาน) พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๖ ๖. พระกันทรารักษ์ (บุญเย็น นิรานุช) พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๗๔ ๗. หลวงบริหารสารนิคม (ทรัพย์ โชติทัตต์) พ.ศ. ๒๔๗๔ - ๒๔๗๕ ๘. หลวงศักดิ์รัตนาเขต (เฉ็ง นิยมวัน) พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๗๙ ๙. ขุนวุฒิกรรมรักษา ฤทธิ วุฏฐมาศ) ๒๐ พ.ย. ๒๔๗๙ - ๒๒ ม.ค. ๒๔๘๒ ๑๐. นายสุนัย ราชภัณฑรารักษ์ ๑ ก.พ. ๒๔๘๒ - ๑๓ ม.ค. ๒๔๘๔ ๑๑. ขุนเศียร ภุมานุรักษ์ (บุญเสริม เวณุโกเศศ) ๑๗ ม.ค. ๒๔๘๔ - ๒๔ มี.ค. ๒๔๘๕ ๑๒. นายเพิ่มศักดิ์ ชูศิลป์ ๒๔ มี.ค. ๒๔๘๕ - ๑๒ ก.พ. ๒๔๘๖ ๑๓. นายสกลวิชัย ชาตยานนท์ ๑๐ ก.พ. ๒๔๘๖ - ๒๘ พ.ย. ๒๔๘๙ ๑๔. นายสุพัฒน์ วงษ์วัฒนะ ๑๗ ธ.ค. ๒๔๘๙ - ๙ ธ.ค. ๒๔๙๑ ๑๕. นายบุรินทร เจตน์สว่าง ๒๗ ต.ค. ๒๔๙๑ - ๕ พ.ย. ๒๔๙๕ ๑๖. นายเผชิญ จันทรุเบกษา ๙ ม.ค. ๒๔๙๖ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๐๖ ๑๗. นายผล ไตรสาร ๑๔ พ.ย. ๒๕๐๖ - ๑๖ ธ.ค. ๒๕๑๑ ๑๘. นายสมศักดิ์ กิตติประสงค์ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๑๒ - ๓๐ มี.ค. ๒๕๑๕ ๑๙. นายคำบุ เหมลา ๓๑ มี.ค. ๒๕๑๕ - ๑๒ ม.ค. ๒๕๑๗ ๒๐. นายมานิตย วงศ์อนันต์ ๑๒ ม.ค. ๒๕๑๗ - ๓ มิ.ย. ๒๕๑๘ ๒๑. นายประศาสน์ ศ.พากเพียร ๓ มิ.ย. ๒๕๑๘ - ๒๕ พ.ย. ๒๕๒๒ ๒๒. นายชาญชัย ศรีธัญรัตน์ ๒๖ พ.ย. ๒๕๒๒ - ๓ มี.ค. ๒๕๒๖ ๒๓. นายวิโรจน์ สุนทราวงศ์ ๔ มี.ค. ๒๕๒๖ - ๔ ต.ค. ๒๕๒๘ ๒๔. ร.ต. เกรียงไกร เศรษฐสุวรรณ ๕ ต.ค. ๒๕๒๘ - ๖ ธ.ค. ๒๕๓๑ ๒๕. นายเวทย์ ฉายประสาท ๖ ธ.ค. ๒๕๓๑ - ๒ ก.ค. ๒๕๓๓ ๒๖. นายเถกิงศักดิ์ ผลวัฒนะ ๒ ก.ค. ๒๕๓๓ - ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๗ ๒๗. นายเปรื่อง งามจันทร์ ๑๗ ต.ค. ๒๕๓๗ - ๙ พ.ย. ๒๕๔๐ ๒๘. นายผดุงศักดิ์ ไชยอาลา ๑๐ พ.ย. ๒๕๔๐ - ๕ ต.ค. ๒๕๔๖ ๒๙. นายศานิต จีรวัฒนานนท์ ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ - ๓๐ ก.ย. ๔๗ ๓๐. นายอดุลย์ พลบุตร ๑ พ.ย. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน
คำขวัญอำเภอ
เมืองโบราณ ธารสองสาย ไก่รสเด็ด เมล็ดข้าวหอม
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธร ประมาณ ๒๓ กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๖๓๘.๔๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ ๓๙๙,๐๐๐ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทำนา
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองยโสธร และ อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
ประชากร
อำเภอคำเขื่อนแก้วมีประชากร (ณ วันที่ ๓๑ ธ.ค. ๒๕๔๕) ทั้งสิ้น ๗๓,๗๖๒ คน เป็นชาย ๓๖,๙๖๓ คน หญิง ๓๖,๗๙๙ คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ ๑๑๖ คน : ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน ๑๕,๑๕๐ หลังคาเรือน โดยประชากรสามารถแยกเป็นรายตำบลได้ ดังนี้
ตำบล
ประชากร (คน)
จำนวนหมู่บ้าน
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลลุมพุก (รวมเขตเทศบาล) ๒. ตำบลกู่จาน ๓. ตำบลดงแคนใหญ่ ๔. ตำบลย่อ ๕. ตำบลสงเปือย ๖. ตำบลนาแก ๗. ตำบลทุ่งมน ๘. ตำบลแคนน้อย ๙. ตำบลดงเจริญ ๑๐. ตำบลกุดกุง ๑๑. ตำบลเหล่าไฮ ๑๒. ตำบลโพนทัน ๑๓. ตำบลนาคำ
๘,๐๘๗๓,๐๙๔๔,๑๐๔๓,๔๑๖๒,๒๗๕๑,๘๑๗ ๓,๑๕๐๑,๘๑๕๑,๘๙๐๒,๓๙๓๑,๖๔๓๑,๘๐๒๑,๔๗๗
๗,๙๘๐๓,๑๗๑๔,๑๒๗๓,๓๗๕๒,๒๒๐๑,๘๕๐ ๓,๐๔๘๑,๘๒๔๑,๙๒๓๒,๔๗๓๑,๕๒๗๑,๘๓๓๑,๔๔๘
๑๖,๐๖๗๖,๒๖๕๘,๒๓๑๖,๗๙๑๔,๔๙๕๓,๖๖๗ ๖,๑๙๘๓,๖๓๙๓,๘๑๓๔,๘๖๖๓,๑๗๐๓,๖๓๕๒,๙๒๕
๑๕๑๒๑๑๑๑๙๘ ๙๗๗๗๖๕๕
รวม
๓๖,๙๖๓
๓๖,๗๙๙
๗๓,๗๖๒
๑๑๒
การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ ตำบล ๑๑๒ หมู่บ้าน ๑ เทศบาล (เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว) ๑๓ อบต.
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร ๒ แห่ง คือ หน่วยบริการไฟฟ้าย่อยส่วนภูมิภาคอำเภอคำเขื่อนแก้ว และหน่วยบริการไฟฟ้าย่อยตำบลดงแคนใหญ่
ประปา มีการประปาระดับอำเภอและตำบล หมู่บ้าน ดังนี้
- การประปาส่วนภูมิภาค อ.มหาชนะชัย (เขตอำเภอคำเขื่อนแก้ว)
- การประปาหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนตำบลย่อ
- การประปาหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน
การสื่อสารและโทรคมนาคม มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอ/ตำบล จำนวน ๒ แห่ง คือ ที่ทำการไปรษณีย์คำเขื่อนแก้ว และ ที่ทำการไปรษณีย์ตำบลดงแคนใหญ่
แหล่งน้ำกิน - น้ำใช้
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๔๒๖ บ่อ
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๒,๓๕๑ บ่อ
- ถังเก็บน้ำ จำนวน ๑๔ แห่ง
- ถังน้ำไฟเบอร์กลาส จำนวน ๗๒ ถัง (ขนาดความจุ ๒,๕๐๐ ลบ.ม.)
การสาธารณูปโภคด้านอื่น ๆ
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน ๔ แห่ง
- มีโรงแรม จำนวน ๑ แห่ง
- สถานบริการ จำนวน ๗ แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน มีดังนี้
๑. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๓ ถนนแจ้งสนิท เชื่อมระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานี - จังหวัดยโสธร - จังหวัดร้อยเอ็ด ผ่าน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
๒. ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๘๓ เชื่อมระหว่าง อ.คำเขื่อนแก้ว - อ.มหาชนะชัย - จังหวัดยโสธร และ อ.ราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
๓. ทางหลวงชนบทเส้นทาง รพช. เชื่อมระหว่าง อ.คำเขื่อนแก้ว - ต.ศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
๔. ทางหลวงชนบทเส้นทางกรมโยธาธิการ เชื่อมระหว่าง ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว - ต.บากเรือ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร
๕. ทางหลวงชนบทกรมโยธาธิการ เส้นทางระหว่าง บ.ลุมพุก ต.ลุมพุก - บ.นาโพธิ์ ต.กุดกุง
๖. ทางหลวงชนบท รพช. เส้นทางระหว่าง บ.ทรายงาม - บ.เหล่ามะเขียว ต.กุดกุง อ.คำเขื่อนแก้ว - บ.ดอนผึ้ง ต.บากเรือ อ.มหาชนะชัย
- สำหรับเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน ๙๘ สาย
เศรษฐกิจ
อำเภอคำเขื่อนแก้ว มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น ๒๐๙,๗๗๘ ไร่ เกษตร จำนวน ๑๑,๓๑๐ ครอบครัว มีพื้นที่ถือครองทำนาทั้งหมด ๑๙๐,๒๔๐ ไร่ แยกเป็น นาดำ ๑๑๑,๒๙๑ ไร่ นาหว่าน ๗๘,๙๔๙ ไร่ ผลผลิตต่อไร่ ๔๕๓ กิโลกรัม ประเภทของข้าวที่ปลูก ได้แก่ ข้าวเจ้า ๖๐ % ข้าวเหนียว ๔๐ %
สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้
พืชเศรษฐกิจ
พื้นที่ปลูก(ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย(กก. /ไร่ /ปี)
จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
๑. ข้าว ๒. ปอแก้ว ๓. มันสำปะหลัง ๔. ถั่วลิสง ๕. ยางพารา
๑๙๐,๒๔๐๘๕๐๑๑,๑๑๐๕๖๘๒๓๖
๔๕๓๒๐๐๓,๐๐๐๒๔๐๒๔๐
๑๑,๔๔๗๑๗๐๘๔๒๒๘๔๑๘
การถือครองที่ดิน
- โฉนดที่ดิน จำนวน ๔๐,๐๔๕ แปลง
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) จำนวน ๑๐,๖๓๔ แปลง
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) จำนวน ๑,๖๗๓ แปลง
- หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน ๕๗๙ แปลง (ที่สาธารณประโยชน์ ๔๙๘ แปลง , ที่ราชพัสดุ ๘๑ แปลง)
- ใบจอง (น.ส.๒) จำนวน ๒,๕๙๒ แปลง
ธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน สาขาคำเขื่อนแก้ว
ธนาคาร ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาคำเขื่อนแก้ว
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
๑. ตำบลลุมพุก ได้แก่ รองเท้าแตะ , หมวกโฟม
๒. ตำบลดงแคนใหญ่ ได้แก่ ไก่ย่าง , ผ้าพื้นเมือง , สาโท
๓. ตำบลกู่จาน ได้แก่ ถั่วตัด , ถั่วคั่วทราย
๔. ตำบลเหล่าไฮ ได้แก่ ขนมกะหรี่ปั๊บ , ไพหญ้า
๕. ตำบลทุ่งมน ได้แก่ เสื่อผือ , วัวพื้นบ้าน , สาโท
๖. ตำบลสงเปือย ได้แก่ ผ้าไหม , ข้าวหอมมะลิ
๗. ตำบลกุดกุง ได้แก่ เสื่อกก , ผ้าฝ้ายทอมือ , สุรากลั่น
๘. ตำบลโพนทัน ได้แก่ กระเช้าเถาวัลย์ , ดอกไม้ประดิษฐ์
๙. ตำบลดงเจริญ ได้แก่ ผ้าห่มไหมพรม
๑๐. ตำบลย่อ ได้แก่ ยางพารา , หมอนฟักทอง
๑๑. ตำบลนาแก ได้แก่ เพาะชำกิ่งตอน , ผ้าลายขิด
๑๒. ตำบลนาคำ ได้แก่ กระติ๊บข้าวเส้นกก , กระเป๋าถัก
๑๓. ตำบลแคนน้อย ได้แก่ กระเป๋าผักตบชวา , ขนมข้าวเกรียบ
การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์ไทยของอำเภอ ส่งเข้าคัดสรรในระดับจังหวัด
๑. ประเภทอาหาร ระดับ ๓ ดาว ได้อันดับ ๔ (ขนมถั่วตัด บ้านนาเวียง ตำบลกู่จาน)
๒. ประเภทเครื่องดื่ม ระดับ ๔ ดาว ได้อันดับ ๓ (สุรากลั่นเรือคู่ บ้านทรายงาม ตำบลกุดกุง)
๓. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ระดับ ๔ ดาว ได้อันดับ ๓ (ผ้าคลุมไหล่เกล็ดเต่า บ้านโนนม่วง ตำบลกุดกุง)
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
สถานที่วางจำหน่ายสินค้า
๑. ปั๊มน้ำมันบางจาก อ.คำเขื่อนแก้ว สินค้าที่จำหน่าย
๑.๑ ขนมประเภทต่าง ๆ (ถั่วตัด ถั่วคั่วทราย ขนมโดนัท ขนมไข่ ฯลฯ)
๑.๒ การะบูน / พิมเสนน้ำ
๒. ร้านนานาภัณฑ์ อ.คำเขื่อนแก้ว สินค้าที่จำหน่าย
๒.๑ ขนมประเภทต่าง ๆ (ถั่วตัด กล้วยทอด มันทอด ขนมโดนัท ขนมไข่ ขนมเปี๊ยะ ฯลฯ)
๒.๒ การะบูน / พิมเสนน้ำ
๓. ร้านค้าสตรีอำเภอคำเขื่อนแก้ว สินค้าที่จำหน่าย
๓.๑ สินค้าพื้นเมืองประเภทต่าง ๆ
๓.๒ ดอกไม้ประดิษฐ์ , กระเช้าเถาวัลย์ , หมอนฟักทอง
๓.๓ ของเบ็ดเตล็ดประเภทต่าง ๆ
๔. ศูนย์สาธิตการตลาดในหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในอำเภอคำเขื่อนแก้ว
๔.๑ สินค้าพื้นเมืองทุกประเภท
๔.๒ ขนมประเภทต่าง ๆ ของกลุ่มสตรี (ถั่วตัด ขนมไข่ โดนัท ฯลฯ)
ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
๑. คุณภาพสินค้า ยังไม่ได้มาตรฐาน
๒. การบรรจุภัณฑ์ / การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ยังต้องปรับปรุงพัฒนา
๓. ทุนดำเนินการน้อย
๔. การตลาดไม่แน่นอน
๕. ขาดเทคโนโลยีในการผลิต
๖. การบริหารจัดการองค์กร ยังไม่เข้มแข็ง
๗. ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น บางชนิด มีเป็นบางฤดูกาล ทำให้ไม่ต่อเนื่อง
๘. คุณภาพสินค้า ยังไม่ได้มาตรฐาน
๙. การบรรจุภัณฑ์ / การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ยังต้องปรับปรุงพัฒนา
๑๐. ทุนดำเนินการน้อย
๑๑. การตลาดไม่แน่นอน
๑๒. ขาดเทคโนโลยีในการผลิต
๑๓. การบริหารจัดการองค์กร ยังไม่เข้มแข็ง
๑๔. ปัจจัยการผลิตในท้องถิ่น บางชนิด มีเป็นบางฤดูกาล ทำให้ไม่ต่อเนื่อง
สังคม
การศึกษา
จำนวนสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ มีดังนี้
สังกัด
โรงเรียน (แห่ง)
ห้องเรียน (ห้อง)
ครู (คน)
นักเรียน (คน)
สนง.เขตพื้นที่การศึกษาศบอ.สช.
๕๗๑๑
๖๓๑๑๕๕๔
๗๘๘๑๕๔๔
๑๔,๔๖๔๓,๒๕๒๑๘๑
ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
- กลุ่มสนใจ ๑๑๑ กลุ่ม
- วิชาชีพระยะสั้น ๒๘ กลุ่ม
การศึกษาอื่น ๆ
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม ๗ แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ๓ แห่ง
- หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ๑๓ แห่ง
ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๑ แห่ง
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๐๙ แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
การศาสนา
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ ๗๓,๖๔๔ คน ศาสนาอื่นๆ ประมาณ ๑๑๘ คน
- มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา วัด , ที่พักสงฆ์ จำนวน ๘๓ แห่ง
ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
- มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน
- มีการจัดงานประเพณีบุญมหาชาติ ในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน
- มีการจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ ในช่วงเดือน เมษายน
สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาล ขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัย จำนวน ๑๕ แห่ง
- สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน ๘ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๘ แห่ง
จำนวนบุคลากรทางด้านการสาธารณสุข
- แพทย์ จำนวน ๔ คน
- ทันตแพทย์ จำนวน ๑ คน
- เภสัชกร จำนวน ๔ คน
- พยาบาล จำนวน ๕๐ คน
- จนท. สาธารณสุขชุมชน จำนวน ๔๒ คน
- จนท. อื่น ๆ จำนวน ๒๖ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๘๙๙ คน
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๙๗.๒๓
- หอกระจายข่าว จำนวน ๑๐๖ แห่ง
การส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน ๒ แห่ง
- สหกรณ์การเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำกัด
- สหกรณ์การเกษตรสมัชชาเกษตรกรรายย่อยอำเภอคำเขื่อนแก้ว จำกัด
การเงิน การคลัง
รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๑. เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ๑๕,๕๖๓,๖๒๘.๙๒ บาท
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ ๓,๐๗๕,๕๐๐.๐๐ บาท
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน ๗,๔๐๑,๘๐๐.๐๐ บาท
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ๔,๒๖๕,๘๐๐.๐๐ บาท
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ ๔,๓๔๓,๗๔๑.๐๐ บาท
๖. องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ๓,๖๒๒,๖๐๐.๐๐ บาท
๗. องค์การบริหารส่วนตำบลดงแคนใหญ่ ๕,๔๙๑,๗๕๐.๐๐ บาท
๘. องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ๔,๐๐๓,๔๖๓.๐๐ บาท
๙. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ๓,๖๒๗,๕๕๙.๘๕ บาท
๑๐. องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก ๔,๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
๑๑. องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ ๔,๖๑๐,๑๖๔.๖๒ บาท
๑๒. องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง ๔,๖๑๐,๑๖๔.๖๒ บาท
๑๓. องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ๔,๐๕๘,๒๐๐.๐๐ บาท
๑๔. องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก ๗,๗๙๘,๙๓๐.๐๐ บาท
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน สภาพดิน เป็นดินร่วนปนทราย ไม่อุ้มน้ำ
ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำชี และแม่น้ำ (ลำเซบาย)
ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ป่าที่สำคัญ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าดงมะพริก" และป่าสงวนแห่งชาติ " ป่าหนองแดง "
แหล่งท่องเที่ยว
มีสถานท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระธาตุกู่จาน และ ดงเมืองเตย
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอคำเขื่อนแก้ว ; สิงหาคม ๒๕๔๖






ประวัติอำเภอเมืองยโสธร
ประวัติความเป็นมา

จากพงศาวดารเมืองยโสธรลงจารึกเมื่อจุลศักราช ๑๒๕๙ ร.ศ. ๑๑๖ ว่า พระวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์ ท้าวหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิดพรมและท้าวมุม เดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นชัยถูมิ จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน ต่อมาพุทธศักราช ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงยกฐานะเป็นเมืองยโสธรขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองเป็นพระสุนทรราชวงศา ปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ ได้รวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานี แล้วแยกเป็น ๒ อำเภอ เรียกอำเภออุทัยยโสธร และอำเภอปจิมยโสธร ปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ถูกยุบลงเพื่อจัดตั้งจังหวัดอุบลราชธานี
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ ย้ายอำเภออุทัยยโสธรไปตั้งที่ตำบลลุมพุก และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว ส่วนอำเภอปจิมยโสธรตั้งอยู่ในเมืองที่ตั้งอำเภอในเมือง แล้วเปลี่ยนเป็นอำเภอยโสธรในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕๖
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ ได้ยกฐานะเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๗๐ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๕ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานีและรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ และนั่นคือกำเนิดอำเภอเมืองยโสธร
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ (ก่อนยกฐานะเป็นจังหวัดยโสธร) ๑. นายพัน พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๗ ๒. ร.อ.อ.พระเทศธุระกิจ (แนบ โอสถานนท์) พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๖๒ ๓. นายจรุง เศรษฐทัตต์ พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๓ ๔. หลวงศักดิ์ รัตนเขตต์ (เฉ่ง นิยมวัน) พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๔๖๗ ๕. หลวงสุขประศาสน์ (ชุบ สุขะรูป) พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๗๖ ๖. หลวงรัตนประศาสน์ (แก้ว มณีศิลป์) พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๘ ๗. นายตุ้ม สุวรรณกูฏ พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๐ ๘. หลวงศักดิ์ รัตนเขตต์ (เฉ่ง นิยมวัน) พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๔๘๒ ๙. ขุนอาจเอาธุระ (เลื่อม วงกลมลาไสย) พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๘๙ ๑๐. ร.ต.ต. พุก ฤกษ์เกษม พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐ ๑๑. ขุนพิศาลสฤษติกรรม (ทองใบ น้อยอรุณ) พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๑ ๑๒. ขุนศรีวิเศษ (ยงยุทธ ศรีวิเศษ) พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔ ๑๓. ขุนผดุงแดนสวรรค์ (ฟุ้ง รักราชการ) พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๔๙๘ ๑๔. นายสุโข อินทรประชา พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๐๐ ๑๕. ร.ต.ท. พวง ศรีบุญลือ พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๓ ๑๖. นายอดุลย์ ดิษยนันท์ พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๑๔ ๑๗. นายณัฐพล ไชยรัตน์ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕
(ตั้งแต่ ๑ มี.ค. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา) ๑๘. นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์ ๑ มี.ค. ๒๕๑๕ - ๘ ม.ค. ๒๕๑๗ ๑๙. นายคำบุ เหมลา ๘ ม.ค. ๒๕๑๗ - ๙ ก.ย. ๒๕๒๓ ๒๐. นายจิโรจน์ โชติพันธ์ ๒๕ ต.ค. ๒๕๒๓ - ๑๐ มี.ค. ๒๕๒๖ ๒๑. ร.ต. ชนะ ขำสุวัฒน์ ๑๐ มี.ค. ๒๕๒๖ - ๒๔ พ.ค. ๒๕๒๘ ๒๒. นายสมัย ณ หนองคาย ๒๗ พ.ค. ๒๕๒๘ - ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๒ ๒๓. ร.อ.สมศักดิ์ ศาตรรอด ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๒ - ๑๘ ต.ค. ๒๕๓๔ ๒๔. นายนพพร จันทรถง ๑๑ พ.ย. ๒๕๓๔ - ๓๐ พ.ย. ๒๕๓๖ ๒๕. นายพิจิตร วงษ์จินดา ๑ ธ.ค. ๒๕๓๖ - ๓๑ ต.ค. ๒๕๓๘ ๒๖. นายส่งศักดิ์ สาธุภาค ๑ พ.ย. ๒๕๓๘ - ๙ พ.ย. ๒๕๔๐ ๒๗. นายธงชัย พัฒนครู ๑๐ พ.ย. ๒๕๔๐ - ๗ พ.ยย. ๒๕๔๒ ๒๘. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ๒๒ พ.ย. ๒๕๔๒ - ๑๑ พ.ย. ๒๕๔๓ ๒๙. นายชัยโรจน์ เกตุกำเนิด ๒๐ พ.ย. ๒๕๔๓ - ๗ ม.ค. ๒๕๔๔ ๓๐. นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา ๕ ก.พ. ๒๕๔๔ - ๕ ต.ค. ๒๕๔๖ ๓๑. นายผดุงศักดิ์ ไชยอาลา ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอเมืองยโสธร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ระยะทาง ๕๓๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๕๗๘.๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๖๑,๓๗๘.๕ ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอทรายมูล และอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอป่าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปเป็นที่ราบ มีความลาดเอียงจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ และจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย มีลำน้ำชีเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านตอนใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย ๑๒๔.๐๐ เมตร นอกจากนี้มีแม่น้ำสายอื่น ๆ อีก อาทิ ลำน้ำยัง ลำน้ำทวน ลำน้ำโพง
๔. สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบสมมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม - มิถุนายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
ประชากร
ประชากรมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๓๐,๓๑๘ คน (รวมทั้งในเขตเทศบาล) แยกเป็นชายจำนวน ๖๕,๗๗๑ คน เป็นหญิง จำนวน ๖๔,๕๔๗ คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๓๒,๗๐๙ ครัวเรือน (รวมทั้งในเขตเทศบาล) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตารางแสดงจำนวนประชากรและครัวเรือน
เขตพื้นที่
ประชากร (คน)
ครัวเรือน
ความหนาแน่น(คน/ตร.กม.)
ชาย
หญิง
รวม
ในเขตเทศบาล นอกเขตเทศบาล
๒๒,๕๖๕๑๐๗,๗๕๓
๑๑,๒๖๙๕๔,๕๐๒
๑๑,๒๙๖๕๓,๒๕๑
๖,๐๘๓๒๖,๖๒๖
๒,๓๒๖.๒๙๑๘๙.๕๔
รวม
๑๓๐,๓๑๘
๖๕,๗๗๑
๖๔,๕๔๗
๓๒,๗๐๙
๒๒๕.๓๙
ตารางแสดงจำนวนประชากรจำแนกตามเพศรายตำบล
ตำบล
เนื้อที่(ตร.กม.)
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนหลังคาเรือน
ประชากร (คน)
ชาย
หญิง
รวม
๑.ในเมือง(เขตเทศบาลฯ) ๒.ขั้นไดใหญ่๓.ขุมเงิน๔.เขื่องคำ๕.ค้อเหนือ ๖.ดู่ทุ่ง๗.เดิด๘.ตาดทอง๙.ทุ่งแต้๑๐.ทุ่งนางโอก๑๑.นาสะไมย์ ๑๒.น้ำคำใหญ่ ๑๓.สำราญ๑๔.สิงห์๑๕.หนองหิน๑๖.หนองเรือ ๑๗.หนองเป็ด ๑๘.หนองคู
๙.๗๓๒๒๔๔๐๔๓๔๑๕๕๔๐ ๓๘.๕๒๒.๕๓๘๓๐๒๗๓๕.๕๔๐๑๔๓๐ ๑๘
-๙๘๑๓๑๕๑๑๑๓๑๓๑๐ ๙๑๓๑๕๑๑๑๑๙๙๙๗
๖,๐๘๓๑,๒๐๔๑,๑๗๑๒,๒๐๑๑,๗๑๖๑,๓๑๑ ๒,๔๓๒๒,๖๖๒๑,๒๙๗๑,๑๓๑๑,๓๐๕๒,๑๖๐๒,๑๗๓ ๑,๔๔๕๑,๑๑๘๘๔๙๙๘๘๑,๔๖๓
๑๑,๒๖๙๒,๓๙๖๒,๗๕๗๔,๐๒๑๓,๙๒๓๒,๗๐๕ ๖,๑๓๖๔,๕๒๔๒,๖๗๗๒,๔๔๓๒,๗๐๙๔,๓๘๘๓,๕๔๘ ๓,๐๔๔๒,๓๓๓๑,๘๔๙๒,๒๐๖๒,๘๐๗
๑๑,๒๙๖๒,๓๙๖๒,๖๔๒๔,๐๒๑๓,๘๗๙๒,๗๔๓ ๔,๙๔๕๔,๖๒๙๒,๖๓๐๒,๔๑๑๒,๖๓๖๔,๒๘๓๓,๖๗๓ ๓,๐๕๔๒,๒๔๕๑,๘๗๒๒,๒๐๙๒,๙๘๓
๒๒,๕๖๕๔,๗๙๒๕,๓๙๙๘,๐๔๒๗,๘๐๒๕,๔๔๘ ๑๑,๐๘๑๙,๑๕๓๕,๓๐๗๔,๘๕๔๕,๓๔๕๘,๖๗๑๗,๒๕๗ ๖,๐๙๘๔,๕๗๘๓,๗๒๑๔,๔๑๕๕,๗๙๐
รวม
๕๗๘.๒๐
๑๘๔
๓๒,๗๐๙
๖๕,๗๗๑
๖๔,๕๔๗
๑๓๐,๓๑๘
การปกครอง
แบ่งการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ออกเป็น ๑๗ ตำบล ๑๘๔ หมู่บ้าน ๑ เทศบาล (เทศบาลเมืองยโสธร) ๑๗ อบต.
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ หน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร อำเภอเมืองยโสธร มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน ทั้ง ๑๗ ตำบล ๑๘๔ หมู่บ้าน
ประปา มีการประปาระดับอำเภอ และตามตำบล หมู่บ้าน ของการประปาส่วนภูมิภาค ดังนี้
- ประปายโสธร การประปาส่วนภูมิภาค
- ประปาหนองคู การประปาส่วนภูมิภาค
- ประปาตาดทอง การประปาส่วนภูมิภาค
โทรศัพท์ มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ สำนักงานบริการโทรศัพท์ยโสธร จำนวนคู่สาย ๔,๑๔๓ คู่สาย
การสื่อสารและโทรคมนาคม
- มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน ๑ แห่ง ไปรษณีย์ตำบล ๖ แห่ง
- สถานีวิทยุ จำนวน ๕ แห่ง
- หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน ๒ แห่ง
การคมนาคม การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ สามารถใช้เส้นทางติดต่อภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนถึงกรุงเทพมหานคร ได้อย่างสะดวกสบาย โดยรถยนต์ของบริษัทขนส่งจำกัด รถยนต์ปรับอากาศของบริษัทเอกชนหลายบริษัท เส้นทางต่าง ๆ เหล่านี้ มีทั้งทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ และทางหลวงจังหวัด
- เส้นทางเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน ๑๕๔ สาย
- ขนส่งทางน้ำ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากล่าช้าและใช้เวลามาก เส้นทางคมนาคมทางน้ำที่ใช้กันอยู่ในหมู่ราษฎร ที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำชี
- ขนส่งทางอากาศ อำเภอเมืองยโสธรไม่มีมีสนามบินพาณิชย์
แหล่งน้ำ
๑. ฝายยโสธร จำนวน ๑ แห่ง
๒. ฝาย ค.ส.ล. จำนวน ๕๘ แห่ง
๓. บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๓๘๒ แห่ง
๔. บ่อน้ำตื้น จำนวน ๕๑๐ แห่ง
๕. ถังเก็บน้ำ จำนวน ๕๔๓ แห่ง
๖. โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน ๙,๘๐๐ ใบ
๗. ถังไฟเบอร์ ขนาดบรรจุ 2,500 ลิตร จำนวน ๑๒๓ ใบ
๘. ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๑๐๕ แห่ง
เศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชากรในเขตอำเภอเมืองยโสธร มีรายได้เฉลี่ย ๒๕,๑๓๓ บาท/คน/ปี
การเกษตรกรรม
มีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น ๒๗๓,๙๓๕ ไร่ ครอบครัวทำการเกษตร จำนวน ๑๗,๐๒๙ ครอบครัว พื้นที่ทำการเกษตรประมาณร้อยละ ๗๖ ของพื้นที่ทั้งหมด แยกเป็น
๑. พื้นที่ทำนา ประมาณ ๒๒๔,๐๖๔ ไร่
๒. พื้นที่ทำไร่ ประมาณ ๒๙,๓๙๐ ไร่
๓. พื้นที่ทำสวน ประมาณ ๒๐,๕๓๑ ไร่
โดยพื้นที่ปลูก มีผลผลิตเฉลี่ย ดังนี้
๑. ข้าว ๔๒๔ กก./ไร่/ปี
๒. มันสำปะหลัง ๒,๕๐๐ กก./ไร่/ปี
๓. ปอแก้ว ๘๐๐ กก./ไร่/ปี
๔. ยางพารา ๒๓๐ กก./ไร่/ปี
๕. ไม้ผล ๗,๐๐๐ กก./ไร่/ปี
๖. พืชผักชนิดต่าง ๆ ๒,๐๐๐ กก./ไร่/ปี
๗. แต่งโม ๓,๐๐๐ กก./ไร่/ปี
๘. ถั่วลิสง ๒๐๐ กก./ไร่/ปี
๙. ข้าวโพด ๑,๕๐๐ กก./ไร่/ปี
การปศุสัตว์ มีข้อมูลจำนวนสัตว์ ดังนี้
- กระบือ ๙,๗๖๓ ตัว
- โคเนื้อ ๑๔,๓๑๓ ตัว
- สุกร ๕,๐๖๖ ตัว
- เป็ด ๔๑,๘๑๐ ตัว
- ไก่ ๑๖๔,๗๕๒ ตัว
ราษฎรในพื้นที่นิยมเลี้ยงโค กระบือ สำหรับใช้เป็นแรงงานและเป็นธุรกิจค้าขาย สำหรับสัตว์ประเภทอื่น ๆ เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ เลี้ยงพอเป็นอาหารรับประทานในท้องถิ่น
สังคม
การศึกษา
- ข้อมูลด้านการศึกษา
๑) สถานศึกษาสังกัด สปช. ๗๕ โรงเรียน ๖๘๙ ห้องเรียน ครู ๘๘๖ คน นักเรียน ๑๓,๖๕๒ คน
๒) สถานศึกษาสังกัด สศ. ๕ โรงเรียน ๑๓๙ ห้องเรียน ครู ๓๖๓ คน นักเรียน ๕,๕๖๕ คน
๓) สถานศึกษาสังกัด สช. ๕ โรงเรียน ๙๑ ห้องเรียน ครู ๑๑๘ คน นักเรียน ๔,๒๓๓ คน
- ระบบการศึกษานอกโรงเรียน
- กลุ่มสนใจ ๒๖ กลุ่ม
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๙๘ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน ๑ แห่ง
- การศึกษาอื่น ๆ
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม ๑ แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด (ศึกษา) ๔๐ แห่ง
- ศูนย์บริการการศึกษาในตำบล (กศน.) ๑๗ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (พ.ช.) ๒๑ แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถานบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้ วัดจำนวน ๑๕๑ แห่ง ที่พักสงฆ์ จำนวน ๑๐ แห่ง มัสยิด จำนวน ๑ แห่ง ศาลเจ้า จำนวน ๒ แห่ง
- ศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ บุญบั้งไฟ บุญข้าวกรรม แข่งเรือยาว บายศรีสู่ขวัญ การละเล่นกั๊บแก้บ กลองยาว แคน ซุง สะบ้า ศิลปะการแสดงหมอลำ หมอลำหมู่ หมอลำซิ่ง รำโทน ฟ้อนกลองยาว ถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีสะท้อนชีวิต สร้างความรักความสามัคคีในหมู่คนอีสาน
สาธารณสุข
มีการบริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
- โรงพยาบาล ขนาด 364 เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน ๒๑ แห่ง
- สำนักงานส่วนมาลาเรีย (ศคม.) จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์แพทย์ชุมชน จำนวน ๑ แห่ง
- สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน ๒ แห่ง
- สถานพยาบาลแผนปัจจุบันประเภทไม่มีเตียง (คลินิก)
สาขาเวชกรรม จำนวน ๑๕ แห่ง
สาขาทันตกรรม จำนวน ๔ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๑๗ แห่ง
- ร้านผลิตยาโบราณ จำนวน ๓ แห่ง
ร้านเดชศรีเภสัช
ร้านเสริมแขดวง
ร้านเจ๊กน้อยโอสถ
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน ๓ แห่ง
- โรงงานผลิตน้ำแข็ง จำนวน ๓ แห่ง
บุคลากรทางด้านการสาธารณสุข
๑. โรงพยาบาลของรัฐ (ทั่วไป)
- แพทย์ จำนวน ๒๕ คน
- ทันตแพทย์ จำนวน ๙ คน
- เภสัชกร จำนวน ๑๒ คน
- พยาบาล จำนวน ๑๒๐ คน
- เจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน ๒๓๔ คน
๒. สาธารณสุข
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๖๙ คน
- เจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน ๓ คน
การส่งเสริมสหกรณ์ มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
๑. สหกรณ์การเกษตรอำเภอเมืองยโสธร จำกัด
๒. สหกรณ์การเกษตรสมัชชาเกษตรกรรายย่อยอำเภอเมืองยโสธร จำกัด
๓. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกุดกุง จำกัด
๔. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านคำน้ำสร้าง จำกัด
๕. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านท่าเยี่ยม จำกัด
๖. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนกลอย จำกัด
๗. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอนกลางค้อเหนือ จำกัด
๘. สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านม่วงอ่อน จำกัด
การพาณิชย์
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดกลาง/เล็ก จำนวน ๓๕๘ แห่ง
- มีธนาคาร ๙ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน , ธนาคารกรุงไทย (มหาชน) , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา , ธนาคารทหารไทย , ธนาคารศรีนคร , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด , ธนาคารไทยพาณิชย์
- มีร้านค้าขึ้นทะเบียน ๕๔๖ แห่ง
- มีห้างสรรพสินค้า ๒ แห่ง ได้แก่ นานาภัณฑ์ และบิ๊กแคท
- ร้านค้าของเก่า จำนวน ๓๖ แห่ง ประกอบด้วย
๑. ร้านทอง ๑๐ แห่ง
๒. ร้านขายรถยนต์ ๒๐ แห่ง
๓. ร้ายขายอาหลั่ยเครื่องยนต์ ๑ แห่ง
๔. ร้านขาย เครื่องไฟฟ้าเก่า เศษเหล็ก กระดาษ ๕ แห่ง
- โรงรับจำนำ จำนวน ๑ แห่ง (สถานธนานุบาล)
- โรงแรม จำนวน ๔ แห่ง
- สถานบริการ จำนวน ๑๕ แห่ง แบ่งออกเป็น
๑.สถานบริการประเภท ๓ (๑) จำนวน ๑ แห่ง
๒.สถานบริการประเภท ๓ (๔) จำนวน ๑๔ แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ฉะนั้น การใช้ดินเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร จึงมีความจำกัดมาก ประชาชนได้ใช้เพื่อการทำนาข้าว มันสำปะหลัง ปอแก้ว ไม้ผล แตงโม พืชผักต่าง ๆ สภาพดินปัจจุบันเสื่อมโทรม เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีกันมา ขาดการบำรุงรักษา ปัจจุบันทางราชการได้แนะนำให้ลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และให้ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดทดแทน นอกจากนั้น ต้องบำรุงรักษาและป้องกันกำจัดศัตรูพืช
แหล่งน้ำธรรมชาติ
อำเภอเมืองยโสธร มีแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านตอนใต้ของอำเภอตลอดทั้งปี คือ แม่น้ำชี แม่น้ำยังเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำมูล นอกจานี้ ยังมีแม่น้ำสายอื่น ๆ อีก เช่น ลำน้ำทวน ลำโพง ซึ่งราษฎรก็ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ปศุสัตว์ ประมงฯ สำหรับน้ำใต้ดินจะอยู่ลึก ประกอบด้วย ธารน้ำใต้ดินมีปริมาณค่อนข้างน้อย การทำประปาบาดาลไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จัดเป็นอำเภอที่แห้งแล้งอำเภอหนึ่งของจังหวัด ระบบคลองส่งน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรมีน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของเกษตรกร การเกษตรกรรรมส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน
ทรัพยากรป่าไม้
อำเภอมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ๑) ป่าดงมะไฟ ๒) ป่าเชียงหวาง ๓) ป่าเดิด ๔) ป่าหนองหิน ๕) ป่าห้วยปอ ๖) ป่าทรายมูล
แหล่งท่องเที่ยว
อำเภอเมืองยโสธร เป็นอำเภอเก่าแก่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่
๑. พระธาตุพระอานนท์ พระพุทธบุษยรัตน์ และหอไตรวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง
๒. พระธาตุก่องข้าวน้อย บ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง
๓. สวนสาธารณพญาแถน ตำบลในเมือง
๔. วังมัจฉา บ้านกว้าง ตำบลเขื่องคำ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้อาหารปลา
๕. หมู่บ้านหัตถกรรมพื้นบ้าน บ้านนาสะไมย์ ตำบลนาสะไมย์ ซึ่งมีการผลิตเกวียนไม้แกะสลัก บานประตูหน้าต่างโบสถ์ สานกระติบข้าว การผลิตเครื่องทองเหลือง การผลิตเครื่องใช้จากทองเหลือง
ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาอำเภอ
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) พ.ศ.๒๕๔๖ เรียงลำดับจากน้อยไปมาก
ลำดับ
ตำบล
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (บาท)
๑.๒.๓.๔.๕. ๖.๗.๘.๙.๑๐.๑๑.๑๒. ๑๓.๑๔.๑๕.๑๖.๑๗.
น้ำคำใหญ่หนองคูดู่ทุ่งหนองเรือหนองหินทุ่งนางโอก สิงห์นาสะไมย์ ทุ่งแต้สำราญค้อเหนือขุมเงินขั้นไดใหญ่หนองเป็ดเขื่องคำ เดิดตาดทอง
๑๘,๘๙๕๑๙,๘๑๘๒๐,๖๒๒๒๑,๑๒๙๒๑,๕๐๒ ๒๑,๕๖๘๒๒,๐๘๘๒๒,๑๙๕๒๒,๓๑๐ ๒๒,๕๑๑๒๓,๐๗๓๒๔,๗๖๔๒๔,๙๗๑๒๕,๔๘๒๒๘,๑๔๖ ๓๗,๖๒๑๓๗,๗๐๑
รวมเฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่
๒๕,๑๓๓
สภาพปัญหาในการพัฒนา
๑. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
๑.๑ ราษฎร ยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิครบทุกหลังคาเรือน
๑.๒ การคมนาคม ถนนส่วนใหญ่ยังเป็นลูกรัง ช่วงฤดูฝนจะได้รับความเสียหาย สัญจรไปมาลำบาก ต้องได้รับการบูรณะซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี การจัดสรรงบประมาณในด้านนี้ยังไม่ทั่วถึง
๒. ปัญหาการผลิต รายได้ และการมีงานทำ
๒.๑ การประกอบธุรกิจในหมู่บ้าน : ราษฎรยังขาดทักษะ
๒.๒ การประกอบอาชีพ และการมีงานทำ : ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ไม่มีอาชีพหลังฤดูกาลทำนา ภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง
๒.๓ อัตราค่าจ้าง : แรงงานอยู่ในสภาพจำยอมของผู้ว่าจ้าง ทางราชการไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างทั่วถึง
๒.๔ ผลผลิตจากการทำนา : ได้ผลผลิตต่ำเนื่องจาก สภาพดินเป็นดินปนทราย ขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ฝนทิ้งช่วงไม่ตกต้องตามฤดูกาล
๒.๕ การอพยพหางานทำ : จำนวนประชากรในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น ที่ทำกินเท่าเดิม ภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้ง - ช่วง ไม่มีอาชีพหลังเก็บเกี่ยว
๒.๖ การรวมตัวของเกษตรกร : เกษตรกรไม่ชอบรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มทางการเกษตร
๓. ปัญหาสาธารณสุขและการอนามัย
๓.๑ การได้รับการคุ้มครองการบริโภคด้านยา : ผู้จำหน่ายและผู้ซื้อขาดความรู้ความเข้าใจในการบริโภคยา ที่ถูกต้องในการป้องกันโรคติดต่อ การรักษาสุขภาพอนามัย
๓.๒ สุขภาพจิต : สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย ไม่เพียงพอ ความเครียดเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
๓.๓ การอนามัยและสิ่งแวดล้อม : ราษฎรขาดความรู้ความเข้าใจ ด้านสิ่งแวดล้อมและขาดจิตสำนึกในการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งการรักษาความสะอาดของหมู่บ้าน
๓.๔ การอาชีวอนามัย : ราษฎรขาดความรู้ในการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช
๔. ปัญหาแหล่งน้ำ
๔.๑ น้ำใช้ ; น้ำใต้ดินเป็นน้ำกระด้าง กร่อย สนิมเจือปน ปริมาณไม่เพียงพอตลอดปี ภาชนะเก็บกักน้ำมีน้อย
๔.๒ น้ำเพื่อการเกษตร : ศักยภาพในการเก็บกักน้ำของดินต่ำ แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน
๕. ปัญหาความรู้ การศึกษา และวัฒนธรรม
๕.๑ อัตราการเรียนต่อ : ราษฎรรายได้น้อยไม่เพียงพอจะส่งบุตรหลานเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา
๕.๒ สถานที่ให้ความรู้สำหรับหมู่บ้าน : ขาดแคลนห้องสมุดที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
๖. ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖.๑ ป่าไม้ : ราษฎรขาดความรู้ความเข้าใจและขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม้ เจ้าหน้าที่สนับสนุนดูแลไม่ทั่วถึง
๖.๒ ดิน : สภาพดินเป็นดินปนทรายไม่เก็บน้ำและขาดความอุดมสมบูรณ์
๖.๓ น้ำ : แหล่งน้ำผิวดินมีความสะอาดไม่เพียงพอกับการใช้อุปโภคบริโภค
ความต้องการของราษฎรในพื้นที่
๑. ต้องการเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน ให้ครบทุกครัวเรือน
๒. ถนนคอนกรีตระหว่างหมู่บ้าน เพื่อสัญจรไป - มา ได้สะดวก
๓. ต้องการอาชีพเสริม หลังฤดูการทำนา
๔. ต้องการพันธุ์ข้าว สำหรับเพาะปลูก เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม
๕. ต้องการแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
๖. ต้องการน้ำสะอาดใช้อุปโภค - บริโภค เพราะน้ำใต้ดินเป็นด่าง กร่อย ปริมาณน้ำใช้ไม่เพียงพอ
๗. ต้องการสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ และออกกำลังกาย
๘. ขยายการศึกษาสู่ชุมชนในระดับมัธยมศึกษา ในพื้นที่ให้มากขึ้น และมีห้องสมุดระดับตำบล
๙. ต้องการอัตรา ค่าแรงงานที่สูงขึ้น
๑๐. ต้องการด้านสาธารณสุขมูลฐานในชุมชน/หมู่บ้าน ให้บริการด้านสาธารณสุขครบทุกครัวเรือน
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองยโสธร ; สิงหาคม ๒๕๔๖











ประวัติอำเภอมหาชนะชัย
ประวัติความเป็นมา

อำเภอมหาชนะชัย เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งทางประวัติศาสตร์ มีประวัติเขียนและเล่าสืบทอดกันมา เมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระบรมราชนุวงศา (ท้าวกุทอง) เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี ท่านมีบุตรหลายคคนที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง อุปฮาด (อุปราช) ราชวงศ์ ราชบุตรปกครองอาณาประชาราษฎ์ได้ ประกอบกับในระยะนั้นบริเวณที่ตั้งอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษมีโจรผู้ร้ายชุกชุมยากแก่การปกครองและปราบปราม ท่านจึงให้ท้าวปุตะ คำพูน (คำพูน สุวรรณกูฎ) ซึ่งเป็นบุตรออกไปสำรวจพื้นที่เพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ ท้าวคำพูนได้ออกสำรวจพื้นที่และได้พิจารณาเห็นว่า "บ้านเวินชัย" (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ ๕ บ้านผือฮี) มีทำเลเหมาะสมและมีลำน้ำชีไหลผ่านสะดวกแก่การคมนาคมทางเรือจึงได้ทำรายงานให้พระพรหมวงศา ขอจัดตั้งเมืองขึ้นที่บ้านเวินชัย เป็นเมืองมหาชัยชนะ โดยให้เป็นแขวงเมืองขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี
ต่อมาวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน เบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๐๖ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเมืองมหาชัยชนะขึ้นที่บ้านเวินชัย และได้ทรงแต่งตั้งท้าวคำพูนเป็นเจ้าเมืองมหาชัยชนะ และพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองชัยชนะ" และแต่งตั้งท้าวโพธิราช (ผา) เป็นอุปฮาด ท้าววรกิตติกา (ไชย) เป็นราชวงศ์ ท้าวอุเทน (หอย) เป็นราชบุตร
พระเรืองชัยชนะ ได้ปกครองเมืองที่บ้านเวินชัยประมาณเดือนเศษก็ได้พบว่า ที่บ้านเวินชัยมีสภาพภูมิประเทศคับแคบขยายตัวเมืองได้โดยยาก ทั้งเป็นคุ้งน้ำเซาะดินพังอยู่เสมอ ดังนั้น จึงได้ย้ายเมืองใหม่มาตั้งที่บ้านฟ้าหยาดในปัจจุบัน
พระเรืองชัยชนะ ปกครองเมืองมหาชนะชัยจนถึงแก่กรรม พระสิกธิจางวางได้เป็นเจ้าเมืองสืบต่อมาอีก ๑๕ ปี ก็ถึงแก่กรรมอีก ทางราชการจึงได้ยุบเมืองมหาชนะชัยเป็นอำเภอมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี พร้อมกับแต่งตั้งท้าวสุริยนต์ บุตรพระสิกธิจางวาง เป็นนายอำเภอมหาชนะชัยคนแรก (ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคนเดียวกับหลวงวัฒนวงศ์โทนุบล)
เนื่องจากอำเภอมหาชนะชัยตั้งอยู่บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด กระทรวงมหาดไทยจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมหาชนะชัยเป็น "อำเภอฟ้าหยาด" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๐ สมัยขุนกันทรารักษ์ (บุญเย็น พิลานุช) เป็นนายอำเภอ
อำเภอมหาชนะชัย ได้ใช้ชื่ออำเภอฟ้าหยาดมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๒ สมัยนายเลื่อน ปทุมรัตน์ เป็นนายอำเภอ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอฟ้าหยาดเป็นอำเภอมหาชนะชัยอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ จึงได้ขึ้นตรงต่อจังหวัดยโสธร ปัจจุบันตั้งเป็นอำเภอได้ ๙๔ ปี นับรวมเป็นเมืองได้ ๑๔๔ ปี
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. หลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฎ) พ.ศ. ๒๔๕๒ - ๒๔๕๘ ๒. ขุนกันทรารักษ์ (บุญเย็น พิลานุช) พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๐ ๓. หลวงวิจารย์ ภักดี (เลื่อน โอวาทสาร) พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๔๖๒ ๔. หลวงศักดิ์ รัตนเขตต์ (เฉ่ง นิยมวัน) พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๓ ๕. ขุนศรีศักดิ์ บริบาล (นาม อุ่นทำนัก) พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๕ ๖. หลวงพิศิษฐ์ สุรินทร์รัฐ (พานเมือง อัมรนิมิ) พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๔๗๒ ๗. ขุนอาจ เอาธุระ (เลื่อม วงศ์กมลาไสย) พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๙ ๘. นายนารถ มนตะเสวี ๑๖ เม.ย. ๒๔๘๐ - ๒๕ ธ.ค. ๒๔๘๐ ๙. นายเลื่อน ปทุมรัตน์ ๑ ม.ค. ๒๔๘๐ - ๑ ม.ค. ๒๔๘๒ ๑๐. นายรง ทัศนาญชาบี ๑๒ ก.พ. ๒๔๘๒ - ๑ ธ.ค. ๒๔๘๕ ๑๑. นายสุวรรณ สุกะโตษะ ๑๕ ธ.ค. ๒๔๘๕ - ๑๗ พ.ค. ๒๔๙๕ ๑๒. นายเกื้อ ชูทิม ๑๘ พ.ค. ๒๔๙๕ - ๑๒ มิ.ย. ๒๔๙๙ ๑๓. นายไสว เจริญยุทธ ๑๐ ก.ค. ๒๔๙๙ - ๑ เม.ย. ๒๕๐๕ ๑๔. ม.ล. ภักศุก กำภู ๒ เม.ย. ๒๕๐๕ - ๘ ส.ค. ๒๕๐๕ ๑๕. นายประสิทธิ์ โกมลมาลย์ ๓๐ ส.ค. ๒๕๐๕ - ๒๗ ก.ย. ๒๕๐๖ ๑๖. นายพิสุทธิ์ ฟังเสนาะ ๒๒ เม.ย. ๒๕๐๖ - ๒๐ ม.ค. ๒๕๐๗ ๑๗. นายเจริญ ลีละทีป ๒๑ ม.ค. ๒๕๐๗ - ๑๕ ม.ค. ๒๕๐๘ ๑๘. นายบัญชา ช่างกล ๑๖ ก.ค. ๒๕๐๘ - ๒๔ ม.ค. ๒๕๐๙ ๑๙. นายวิศิษฐ์ บุญศิลป์ ๑๐ เม.ย. ๒๕๐๙ - ๑๕ ส.ค. ๒๕๑๒ ๒๐. นายบำรุง วัฒนรัตน์ ๑๖ ส.ค. ๒๕๑๒ - ๑ ธ.ค. ๒๕๑๖ ๒๑. นายไพโรจน์ ทองใบ ๖ ธ.ค. ๒๕๑๖ - ๑๖ พ.ค. ๒๕๑๗ ๒๒. ร.ต. สำราญ นิรัติศัย ๑๗ พ.ค. ๒๕๑๗ - ๒๐ ม.ค. ๒๕๒๐ ๒๓. นายเจริญ เกิดศิริ ๒๑ ม.ค. ๒๕๒๐ - ๑๙ พ.ค. ๒๕๒๐ ๒๔. ร.ต. อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม ๒๐ พ.ค. ๒๕๒๐ - ๑๐ พ.ย. ๒๕๒๓ ๒๕. นายธีระ กลิ่นลำดวน ๑๐ พ.ย. ๒๕๒๓ - ๑๘ พ.ค. ๒๕๒๕ ๒๖. นายเทียม ศิวะสุข ๑๘ พ.ค. ๒๕๒๕ - ๕ ต.ค. ๒๕๒๙ ๒๗. นายธนู สุขฉายา ๖ ต.ค. ๒๕๒๙ - ๑๖ เม.ย. ๒๕๓๑ ๒๘. นายถาวร ภู่เจริญ ๑๖ เม.ย. ๒๕๓๑ - ๓ ธ.ค. ๒๕๓๓ ๒๙. นายวิโรจน์ สุนทราวงศ์ ๓ ธ.ค. ๒๕๓๓ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๓๗ ๓๐. นายเฉลิมศักดิ์ วงศ์ศิริวัฒน์ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๓๗ - ๑๗ พ.ค. ๒๕๔๑ ๓๑. นายเฉลิมวงศ์ สรรพศิริ ๑๘ พ.ค. ๒๕๔๑ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๓ ๓๒. นายสมบัติ กนกอนันทกุล ๒๗ พ.ย. ๒๕๔๓ - ๓๑ ต.ค. ๒๕๔๗ ๓๓. ว่าที่ ร.ต. ประเสริฐชัย สามกษัตริย์ ๑ พ.ย. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอมหาชนะชัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดยโสธร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๕๖๐ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด ๔๒ กิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านฟ้าหยาด หมู่ที่ ๒ ตำบลฟ้าหยาด ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำชี และมีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน ๒ สาย คือหมายเลข ๒๐๘๓ สายคำเขื่อนแก้ว-ราษีไศล และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒๗ สายพนมไพร-มหาชนะชัย มีเนื้อที่ประมาณ ๔๕๕.๒๖๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๘๔,๕๔๒.๕๐ ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นพื้นที่ราบลุ่มโดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำชี ความลาดเทของพื้นที่เฉลี่ย ๑๒๐ - ๑๒๗ และบางแห่งเป็นที่ดอนสูง ต่ำ ตามพื้นที่ลักษณะดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีลำน้ำชีไหลผ่านตั้งแต่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือจรดทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยาวประมาณ ๕๕ กิโลเมตร แบ่งพื้นที่อำเภอออกเป็น ๒ ส่วน สภาพพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรมราษฎรมีอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
๔. สภาพภูมิอากาศ
สภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดเข้าเดือนพฤษภาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะพัดเอาความชื้นและน้ำฝน เดือนที่มีปริมาณฝนมากที่สุด ได้แก่ เดือนกรกฎาคม - กันยายน ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดเข้ามาในช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ซึ่งจะพัดเอาร่องความกดอากาศสูงทำให้อากาศหนาวเย็น โดยช่วงที่มีอากาศหนาวประมาณ ธันวาคม - มกราคม ส่วนฤดูร้อนจะเริ่มจากเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ช่วงนี้อากาศร้อนมากโดยเฉพาะในเดือนเมษายน
ประชากร
ณ วันที่ ๒ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจำนวน ๕๙,๔๘๕ คน เป็นชาย ๒๙,๘๐๖ คน หญิง ๒๙,๖๗๙ คน
- ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย ๑๓๐.๖๖ คน/ตารางกิโลเมตร
- ในเขตเทศบาลเท่ากับ ๑,๙๓๗ คน/ตารางกิโลเมตร นอกเขตเทศบาลเท่ากับ ๑๑๙ คน/ตารางกิโลเมตร
การปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ ตำบล ๑๐๒ หมู่บ้าน ๑ เทศบาล ๑๐ อบต. ประกอบด้วย
ตารางแสดงรายละเอียดทางการปกครอง
ตำบล
จำนวนหมู่บ้าน
ประชากร (คน)
ครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลโนนทราย ๒. ตำบลสงยาง ๓. ตำบลผือฮี ๔. ตำบลฟ้าหยาด ๕. ตำบลพระเสาร์ ๖. ตำบลบึงแก ๗. ตำบลบากเรือ ๘. ตำบลคูเมือง ๙. ตำบลม่วง ๑๐. ตำบลหัวเมือง
๗๘๘๙๑๐๑๑๑๑๑๒๑๒ ๑๔
๑,๕๘๔๒,๔๓๐๒,๒๕๔๕,๑๔๒๒,๒๒๒๒,๙๔๓ ๒,๔๑๗๓,๔๒๔๓,๔๑๔๓,๙๗๖
๑,๖๐๓๒,๓๔๘๒,๒๗๘๔,๙๙๙๒,๒๒๕๓,๐๓๐ ๒,๔๘๘๓,๓๔๔๓,๔๓๘๓,๙๒๖
๓,๑๘๗๔,๗๗๘๔,๕๓๒๑๐,๑๔๑๔,๔๔๗๕,๙๗๓ ๔,๙๐๕๖,๗๖๘๖,๘๕๒๗,๙๐๒
๖๔๒๑,๐๕๕๘๘๗๒,๓๒๕๙๑๙๑,๑๔๔ ๑,๐๔๐๑,๔๓๐๑,๓๐๔๑,๖๒๙
รวม
๑๐๒
๒๙,๘๐๖
๒๙,๖๗๙
๕๙,๔๘๕
๑๒,๓๗๕
ที่มา : ที่ทำการปกครองอำเภอมหาชนะชัย (ฝ่ายทะเบียนราษฎร)
(ข้อมูลสิ้นสุดเมื่อวันที่ ๒ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๑๕๔๕)
ในจำนวนนี้ เป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน ๑๙ หมู่บ้าน ดังนี้
๑. บ้านกุดพันเขียว หมู่ที่ ๕ , ๑๑ ตำบลหัวเมือง
๒. บ้านหนองตุ หมู่ที่ ๖ , ๑๒ ตำบลหัวเมือง
๓. บ้านม่วง หมู่ที่ ๑ ตำบลม่วง
๔. บ้านเหล่าใหญ่ หมู่ที่ ๓ , ๕ ตำบลม่วง
๕. บ้านบัวขาว หมู่ที่ ๙ ตำบลม่วง
๖. บ้านสำโรง หมู่ที่ ๔ , ๗ , ๑๐ ตำบลคูเมือง
๗. บ้านดงจงอาง หมู่ที่ ๕ , ๑๐ , ๑๑ ตำบลบึงแก
๘. บ้านท่าช้าง หมู่ที่ ๖ ตำบลบากเรือ
๙. บ้านพระเสาร์ หมู่ที่ ๑ , ๘ ตำบลพระเสาร์
๑๐. บ้านเลียบ หมู่ที่ ๓ , ๖ ตำบลโนนทราย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน ๑๑ แห่ง ประกอบด้วย
ตารางแสดงรายละเอียดทางการปกครองท้องถิ่น (เทศบาล)
เทศบาล
พื้นที่ (ตร.กม.)
ประชากร (คน)
ชาย
หญิง
รวม
เทศบาลตำบลฟ้าหยาด
๒.๘
๒,๗๒๕
๒,๗๐๑
๕,๔๒๖
(แต่เดิมจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลฟ้าหยาด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า ๙๙ เล่มที่ ๗๓ ตอนที่ ๘๓ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๙๙ ต่อมายกฐานะเป็นเทศบาลตำบลฟ้าหยาด ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)
ตารางแสดงรายละเอียดทางการปกครองท้องถิ่น (อบต.)
องค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ (ตร.กม.)
ประชากร (คน)
ชาย
หญิง
รวม
๑. โนนทราย ๒. สงยาง ๓. ผือฮี ๔. ฟ้าหยาด ๕. พระเสาร์ ๖. บึงแก ๗. บากเรือ ๘. คูเมือง ๙. ม่วง ๑๐. หัวเมือง
๒๓.๖๖๓๘.๕๐๓๕.๐๐๕๘.๐๐๒๘.๙๔๕๐.๐๐ ๔๕.๒๐ ๕๙.๐๐๕๒.๐๐๔๙.๐๐
๑,๕๘๔๒,๔๓๐๒,๒๕๔๒,๔๑๗๒,๒๒๒๒,๙๔๓ ๒,๔๑๗๓,๔๒๔๓,๔๑๔๓,๙๗๖
๑,๖๐๓๒,๓๔๘๒,๒๗๘๒,๒๙๘๒,๒๒๕๓,๐๓๐ ๒,๔๘๘๓,๓๔๔๓,๔๓๘๓,๙๒๖
๓,๑๘๗๔,๗๗๘๔,๕๓๒๔,๗๑๕๔,๔๔๗๕,๙๗๓ ๔,๙๐๕๖,๗๖๘๖,๘๕๒๗,๙๐๒
รวม
๔๔๘.๓๐
๒๗,๐๘๑
๒๖,๙๗๘
๕๔,๐๕๙
(ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลพร้อมกัน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไปเล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ง ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ เป็นต้นไป)
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า จำนวนครัวเรือนในอำเภอมีทั้งหมด ๑๒,๔๗๗ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ ๑๑,๘๓๗ ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๖๔๐ ครัวเรือน แยกเป็น
- นอกเขตเทศบาล ๑๐,๘๘๓ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ ๑๐,๒๔๓ ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ๖๔๐ ครัวเรือน
- ในเขตเทศบาล ๑,๕๙๔ ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
ประปา มีน้ำประปาใช้ ๔,๔๘๐ ครัวเรือน ไม่มีน้ำประปาใช้ ๗,๙๙๗ ครัวเรือน แยกเป็น
- นอกเขตเทศบาล ๑๐,๘๘๓ ครัวเรือน มีประปาใช้ ๒,๘๘๖ ครัวเรือน ไม่มีประปาใช้ ๗,๙๙๗ ครัวเรือน
- ในเขตเทศบาล ๑,๕๙๔ ครัวเรือน มีประปาใช้ทุกครัวเรือน
โทรศัพท์ มีชุมสายโทรศัพท์ ๑ แห่ง
การคมนาคม
๑. การคมนาคมระหว่างอำเภอกับกรุงเทพมหานคร
รถยนต์ส่วนตัว
(๑) กรุงเทพมหานคร - สระบุรี - สีคิ้ว - โชคชัย - นางรอง - ปราสาท - สุรินทร์ - ศีขรภูมิ - อุทุมพรพิสัย - ราษีไศล - มหาชนะชัย ระยะทาง ๕๘๐ กม.
(๒) กรุงเทพมหานคร - สระบุรี - นครราชสีมา - พุทไธสง - พยัคฆภูมิพิสัย - เกษตรวิสัย - สุวรรณภูมิ - พนมไพร - มหาชนะชัย ระยะทาง ๕๖๐ กม.
รถยนต์โดยสาร
(๑) รถยนต์ปรับอากาศ ชั้น ๑ จำนวน ๒ เที่ยว/วัน ออกจากกรุงเทพมหานคร เวลา ๒๐.๐๐ น. (V.I.P) , ๒๑.๐๐ น. ถึงมหาชนะชัย เวลา ๐๓.๐๐ น. , ๐๔.๐๐ น. ออกจาก มหาชนะชัย จำนวน ๒ เที่ยว/วัน เวลา ๒๐.๓๐ น. ถึงกรุงเทพมหานครเวลา ๐๓.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๓๕๕ บาท (V.I.P) , ๓๐๔ บาท
(๒) รถยนต์ปรับอากาศ ชั้น ๒ จำนวน ๒ เที่ยว/วัน ออกจากกรุงเทพมหานคร เวลา ๐๗.๓๐ น. และ ๒๑.๐๐ น. ถึงมหาชนะชัยเวลา ๑๕.๓๐ น. และ ๐๕.๐๐ น. ออกจากมหาชนะชัย จำนวน ๒ เที่ยว/วัน เวลา ๐๗.๓๐ น. และ ๑๙.๓๐ น. ถึงกรุงเทพมหานคร เวลา ๑๕.๓๐ น. และ ๐๓.๓๐ น. ค่าโดยสาร ๒๔๕ บาท
๒. การคมนาคมระหว่างอำเภอกับจังหวัด
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๐๘๓ สายคำเขื่อนแก้ว - ราษีไศล
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๒๒๗ สายพนมไพร - มหาชนะชัย
- ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๓๕๑ สายมหาชนะชัย - ยางชุมน้อย
- ถนน รพช. สายบ้านฟ้ายาด - บ้านดงมะหรี่
- ถนน รพช. สายบ้านปอแดง - บ้านดงจงอาง
- ถนน รพช. สายบ้านฟ้ายาด - บ้านหัวดง
- ถนน รพช. สายบ้านหนองตุ - บ้านนาโพธิ์
- ถนน รพช. สายบ้านคุ้ม - บ้านหัวดง
- ถนนโยธาธิการ สายบ้านฟ้าหยาด - บ้านหัวดอน
- ถนนโยธาธิการ สายบ้านฟ้าหยาด - บ้านคูเมือง
เศรษฐกิจ
การเกษตรกรรม
- การทำนา ๑๗๕,๕๔๖ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๓๔ ของพื้นที่
- การทำสวน ๑๐,๒๓๔ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔.๙๒ ของพื้นที่
- การทำไร่ ๒๑,๑๒๓ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๑๕ ของพื้นที่
- การเลี้ยงสัตว์ ๘๒๑ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๙ ของพื้นที่
- การประมง ๔๑๖ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๒๐ ของพื้นที่
ข้าว ถือเป็นพืชหลักที่สำคัญ การทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน เป็นการทำนาดำ ในพื้นที่ทำนาจะมีการปลูกข้าวเจ้า ประมาณ ๖๐% เป็นข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ กข.๑๕ มีการปลูกข้าวเหนียว ประมาณ ๔๐% เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว กข.๖,๘ และเหนียวสันป่าตอง ผลผลิตเฉลี่ย ๔๓๖ กก./ไร่ สำหรับการปลูกพืชไร่ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณทิศใต้ และทิศตะวันตกของอำเภอ โดยการปลูกปอแก้วพันธุ์โนนสูง ๒ สวนไม้ผล ไม้ยืนต้น เกษตรกรบางรายเริ่มหันมาปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มะม่วงหิมพานต์ ไผ่ตง มะขามหวาน ฯลฯ
ในด้านการเลี้ยงสัตว์ เกษตรเลี้ยงโค ๑๒,๕๘๔ ตัว กระบือ ๓,๓๘๑ ตัว สุกร ๔,๗๓๒ ตัว ไก่พื้นเมือง ๑๐๕,๑๐๔ ตัว ไก่เนื้อ ๘,๔๔๑ ตัว ไก่ไข่ ๑,๕๕๒๕ ตัว เป็ดเนื้อ ๓,๖๙๐ ตัว เป็ดไข่ ๕,๔๖๙ ตัว เป็ดเทศ ๑๔,๒๕๖ ตัว สุนัข ๕,๓๙๖ ตัว แมว ๑,๒๐๑ ตัว ปัจจุบันมีการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ, โครงการธนาคารโค กระบือ, การสร้างงานเพิ่มรายได้เกษตรกรยังชีพเลี้ยงเป็ดไข่, โครงการผสมเทียม, โครงการป้องกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า, โครงการเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันและกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อย, โครงการส่งเสริมเลี้ยงสัตว์ ในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น
การประมง เนื่องจากมีลำน้ำชีไหลผ่าน เกษตรกรมีการทำประมง ลากอวน ลงเบ็ดราว และทอดแห นอกจากนี้ยังมีการประมงตามแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ กระจายอยู่ทุกตำบล หมู่บ้าน รวมทั้งมีการขุดบ่อเลี้ยงปลา ๒ ประเภท คือ
๑. เลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยการขุดบ่อล่อปลาในบริเวณที่นา พบกระจายทุกหมู่บ้าน ประมาณ ๘๐% ของครัวเรือนทั้งหมด ส่วนมากเลี้ยงปลาธรรมชาติไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเมื่อเหลือจากการบริโภค
๒. เลี้ยงแบบธุรกิจ โดยการขุดบ่อ และให้อาหารปลาเชิงธุรกิจ มีการจัดซื้อพันธุ์ปลาปล่อย เช่น ปลานิล ปลาจีน ปลายี่สกเทศ ปลาดุกอุย
การเลี้ยงปลาได้รับการสนับสนุนด้านเทคนิค และวิทยาการจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ที่บ้านปอแดง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จึงทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงปลาแบบธุรกิจมากขึ้น
การอุตสาหกรรม
- โรงสีข้าว จำนวน ๕๙ แห่ง
- โรงงานหล่อท่อเสาคอนกรีต อิฐบล็อก จำนวน ๓ แห่ง
- โรงงานเผาอิฐแดง จำนวน ๒ แห่ง
- โรงงานทำเหล็กดัด จำนวน ๒ แห่ง
- โรงงานเย็บถุงมือหนัง จำนวน ๒ แห่ง
- โรงงานผลิตน้ำดื่ม จำนวน ๑ แห่ง
- โรงงานทำถุงพลาสติก จำนวน ๑ แห่ง
- การทำขนมจีน จำนวน ๕๑ ราย
- การเจียระไนพลอย จำนวน ๒๐ ราย
- ท่าทราย จำนวน ๑ แห่ง
บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๑๘ แห่ง
ร้านค้าทั่วไป ๑,๕๕๕๒ แห่ง
การหัตกรรม
การทอผ้า เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น ซึ่งสืบทอดกันมานาน ราษฎรเมื่อว่างจากการประกอบอาชีพ จะทอผ้าเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และจำหน่ายเป็นสินค้าพื้นเมือง เช่น การทอผ้าไหม บ้านบัวขาว ต.ม่วง การทอผ้าขิด บ้านชัยประสิทธิ์ ต.ม่วง การทอผ้าห่มบ้านบากเรือ ต.บากเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทอผ้าไหม ทอผ้าฝ้าย ทอผ้าขาวม้า ของกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร บ้านหัวเมือง ซึ่งได้รับรางวัล ประจำปี ๒๕๔๒
การทอเสื่อ การทอเสื่อของราษฎรส่วนใหญ่จะทำไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนของตนเองโดยใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น ต้นผือ เสื่อที่ได้จากการทอนอกจากนำไว้ใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังใช้เป็นของฝากสำหรับผู้มาเยือน หรือบริจาคให้วัดเพื่อใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย
การจักสาน การจักสานนับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่ง งานจักสานจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ตะกร้า ถังน้ำ นอกจากนี้ยังมีการจักสานอุปกรณ์ การจับปลา เช่น ลอบ ไซ เป็นต้น
ธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
๑. ผ้าไหม บ้านหัวเมือง หมู่ ๑ , ๘ , ๙ ต.หัวเมือง
๒. ข้าวสารหอมมะลิ บ้านบากเรือ หมู่ ๔ , ๘ ต.บากเรือ
๓. ไข่เค็ม บ้านโนนธาตุ หมู่ ๖ ต.ฟ้าหยาด
๔. ขนมกระหรี่พั๊ฟ/กล้วยฉาบ บ้านซำ หมู่ ๓ ต.สงยาง
๕. แชมพูมะกรูด/ครีมนวด บ้านม่วง หมู่ ๑ ต.ม่วง
๖. รองเท้าแตะ บ้านสำโรง หมู่ ๔ ต.คูเมือง
๗. ผ้าห่มใยสังเคราะห์ บ้านแดง หมู่ ๒ ต.โนนทราย
๘. ผ้าห่มไหมพรม บ้านสร้างแป้น หมู่ ๒ , ๖ ต.สงยาง
๙. กระติบข้าว บ้านผือฮี หมู่ ๑ ต.ผือฮี
๑๐. เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ บ้านบึงแก หมู่ ๒ ต.บึงแก
๑๑. ผ้าไหม บ้านขาทราย หมู่ ๔ ต.พระเสาร์
สังคม
การศึกษา
จำนวนสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ มีดังนี้
สังกัด
โรงเรียน (แห่ง)
ห้องเรียน (ห้อง)
นักเรียน (คน)
ครู (คน)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดยโสธร เขต ๑กรมการศึกษานอกโรงเรียนกรมอาชีวะศึกษา
๕๒๑๑
๔๖๕๒๐๓๙
๑๐,๒๐๔๘๙๒๘๓๗
๕๗๙๒๑๖๗
รวม
๕๔
๕๒๔
๑๑,๙๓๓
๖๖๗
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑๖ แห่ง คือ
๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนผึ้ง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๓๕ คน
๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคุ้ม มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๗๘ คน
๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบึงแก มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๕๓ คน
๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระเสาร์ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๔๖ คน
๕. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหัวดง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๒๗ คน
๖. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสร้างแป้น มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๙๖ คน
๗. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขาม มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๓๒ คน
๘. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซำ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๓๗ คน
๙. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำโรง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๔๔ คน
๑๐. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านม่วง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๕๕ คน
๑๑. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบากเรือ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๓๘ คน
๑๒. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงยาง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๓๕ คน
๑๓. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบัวขาว มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๖๖ คน
๑๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเหล่าใหญ่ มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๔๐ คน
๑๕. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนทราย มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๔๐ คน
๑๖. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอแดง มีเด็กที่อยู่ในการดูแล จำนวน ๔๐ คน
ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๑ แห่ง
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน ๖๕ แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ ๙๙.๙๙ ศาสนาอื่น ประมาณร้อยละ ๐.๐๑
- วัดมหานิกาย ๖๒ แห่ง ธรรมยุติ ๔ แห่ง
- ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟ, ประเพณีแข่งขันเรือยาว, ประเพณีแห่มาลัย
สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาล ขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน ๑๖ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๒ แห่ง
จำนวนบุคลากรทางด้านการสาธารณสุข
- แพทย์ จำนวน ๓ คน
- ทันตแพทย์ จำนวน ๑ คน
- เภสัชกร จำนวน ๒ คน
- พยาบาล จำนวน ๔๒ คน
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน ๕๔ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๘๕๒ คน
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐
หอกระจายข่าว จำนวน ๙๖ แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ ๙๖
การส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน ๕ แห่ง
- สหกรณ์การเกษตรมหาชนะชัย จำกัด
- สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านหว้าน จำกัด
- สหกรณ์ปศุสัตว์ดงยาง จำกัด
- สหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านดงจงอาง จำกัด
- สหกรณ์สมัชชาเกษตรกรรายย่อย จำกัด
การเงิน การคลัง
รายได้ของแผ่นดิน
- รายได้แผ่นดินในปีงบประมาณ ๒๕๔๖ (๑ ต.ค.๔๕ - ๓๑ ก.ค.๔๖) เป็นเงิน ๔,๓๑๐,๓๐๙.๒๖ บาท
รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เทศบาลตำบลฟ้าหยาด ๒๐,๒๑๔,๐๔๓.๙๙ บาท
- อบต.คูเมือง ๔,๓๖๙,๐๙๘.๖๕ บาท
- อบต.โนนทราย ๓,๒๔๗,๙๔๖.๖๘ บาท
- อบต.บากเรือ ๔,๑๐๓,๐๖๔.๗๔ บาท
- อบต.บึงแก ๔,๐๔๓,๙๓๒.๕๙ บาท
- อบต.ผือฮี ๓,๖๗๗,๓๐๖.๕๔ บาท
- อบต.พระเสาร์ ๔,๑๒๗,๙๕๖.๐๐ บาท
- อบต.ฟ้าหยาด ๓,๕๑๙,๓๒๑.๔๖ บาท
- อบต.ม่วง ๕,๕๑๖,๕๒๐.๔๙ บาท
- อบต.สงยาง ๔,๘๓๐,๙๑๗.๓๙ บาท
- อบต.หัวเมือง ๔,๙๔๔,๖๗๓.๑๙ บาท
การรักษาความสงบเรียบร้อย
- กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำอยู่ ณ สถานีตำรวจภูธรอำเภอมหาชนะชัย จำนวน ๕๘ นาย สถานีตำรวจภูธรตำบลบึงแก จำนวน ๓๐ นาย
- กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน ๑๐๒ คน
- ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง จำนวน ๒๐๒ คน
- ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ จำนวน ๓๗ คน
- สารวัตรกำนัน ๒๐ คน
- แพทย์ประจำตำบล จำนวน ๑๐ คน
- อส. จำนวน ๗ คน
- ทสปช. จำนวน ๖๖๑ คน
- กนช. จำนวน ๘๒ คน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่มหาชนะชัยบางส่วนอยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยราษฎรได้หักร้างถางพง และจับจองที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรมานาน โดยมีพื้นที่บางส่วนเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ทุ่งทำเลเลี้ยงสัตว์และป่าสงวนแห่งชาติแยกเป็น
ป่าสงวนแห่งชาติ ๕ แห่ง
๑. ป่าดงพันชาด ตำบลฟ้าหยาด ๔๖๘ ไร่
๒. ป่าพระเสาร์ ตำบลพระเสาร์ ๒,๑๗๕ ไร่
๓. ป่าหนองตุ ตำบลหัวเมือง ๑,๒๗๕ ไร่
๔. ป่าผือฮี ตำบลฟ้าหยาด,คูเมือง,สงยาง,ผือฮี ๘,๔๐๐ ไร่
๕. ป่าแจนแลน ตำบลผือฮี ๑,๔๒๕ ไร่
ที่สาธารณะประโยชน์
๑. น.ส.ล. (ที่สาธารณะ) ๓๕๘ แปลง เนื้อที่ ๑๕,๔๐๖ - ๐ - ๔๓ ไร่
๒. น.ส.ล. (ที่ราชพัสดุ) ๗๗ แปลง เนื้อที่ ๗๒๗ - ๒ - ๐๗ ไร่
๓. ที่สาธารณะยังไม่ออก น.ส.ล. ๖๘ แปลง เนื้อที่ ๙,๗๔๓ - ๓ - ๔๒ ไร่
ที่ดินเอกสารสิทธิ์
๑. โฉนดที่ดิน ๔๙,๑๔๕ แปลง เนื้อที่ ๒๓๕,๔๒๘ - ๐ - ๙๑ ไร่
๒. นส.๓ - นส.๓ก - นส.๓ข ๙,๑๕๔ แปลง เนื้อที่ ๖,๔๖๐ - ๓ - ๖๓ ไร่
๓. น.ส.๒ (ใบจอง) ๑,๙๖๔ แปลง เนื้อที่ ๖,๐๘๕ - ๓ - ๔๕ ไร่
ทรัพยากรดิน สำนักงานเกษตรอำเภอมหาชนะชัยได้แบ่งชุดดิน เขตอำเภอมหาชนะชัย ดังนี้
๑. ดินชุดร้อยเอ็ด เป็นลักษณะดินส่วนใหญ่ของอำเภอ พบกระจัดกระจายทั่วไปของพื้นที่ มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางเหมาะแก่การทำนา ประมาณ ๗๐% หรือ ๑๙๔,๗๔๘ ไร่
๒. ดินชุดโคราช ดินชุดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกพืชไร่ มีประมาณ ๑๕% เหมาะแก่ การทำไร่ เช่น ปอแก้ว ไม้ผล ไม้ยืนต้น บริเวณดินชุดนี้ บางแห่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและที่สาธารณประโยชน์
๓. ดินชุดพิมาย มีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ใช้ในการทำนาแต่มีปัญหาเรื่อง น้ำท่วม บริเวณที่พบได้แก่บริเวณลุ่มน้ำชี มีประมาณ ๑๐% หรือ ๒๗,๘๒๑ ไร่
๔. ดินชุดอ้น เป็นดินตะกอนลำน้ำ เป็นดินชุดที่อยู่ตามพื้นที่น้ำท่วมที่ไม่เหมาะแก่การปลูก พืชไร่ อาจไร่ทำนาได้ในกรณีที่น้ำไม่ท่วมบางแห่งเกษตรกรปลูกพืชอายุสั้น ปอคิวบา มีงบประมาณ ๕% บริเวณที่พบส่วนมากกระจายอยู่ทุกตำบล
อนึ่ง หากได้แบ่งศักยภาพของดินเค็ม จะพบว่ามีการแพร่กระจายของดินเค็มอยู่ทางทิศตะวันตก ของอำเภอ (ตำบลพระเสาร์ ต.คูเมือง ต.สงยาง)
๑. ดินเค็มปานกลาง มีคราบเกลือ ๑๐ - ๕๐ % ของพื้นที่ ประมาณ ๔.๑ % หรือ ๑๑,๕๘๙ ไร่
๒. ดินเค็มน้อย มีคราบเกลือ ๑ - ๑๐ % ของพื้นที่ ประมาณ ๑๒.๒๗ % หรือ ๓๔,๗๖๗ ไร่
รวมดินเค็มในเขตอำเภอมหาชนะชัย ๑๖.๓% ของพื้นที่ หรือประมาณ ๔๖,๓๕๖ ไร่
ทรัพยากรน้ำ
๑. แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำของอำเภอ มีกระจายอยู่โดยทั่วไปในตำบลต่าง ๆ โดยมีแหล่งน้ำสำคัญคือแม่น้ำชี ซึ่งไหลจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกผ่านแนวกลางพื้นที่อำเภอ โดยไหลผ่านท้องที่ตำบลหัวเมือง ฟ้าหยาด บากเรือ ม่วง และผือฮี ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร และมีแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งหมด ๑๒๕ แห่ง พื้นที่ ๗,๕๙๗ ไร่ เช่น ห้วยสันโดด ห้วยเกลี้ยง ห้วยใหญ่ ลำกุดเกลี้ยง กุดกุง กุดจงอาง กุดปลาผา กุดจาน บึงครก บึงหนาด บึงผือฮี หนองปู่ตา หนองขาม เป็นต้น
แหล่งน้ำที่เกษตรกรสร้างขึ้นจากงบประมาณราชการ และภาคเอกชน ๔๐ แห่ง พื้นที่ ๑,๓๘๑ ไร่
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงแหล่งน้ำ ซึ่งใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ และมีการขุดบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น กระจายทุกหมู่บ้าน โดยระดับน้ำใต้ดินเฉลี่ยประมาณ ๘ เมตร แหล่งน้ำโดยทั่วไปขาดการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ขาดการบำรุงรักษา แหล่งน้ำบางแห่งตื้นเขิน ในฤดูแล้งน้ำแห้งไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่บางแห่งเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้อย่างเต็มที่ สำหรับการปลูกพืชฤดูแล้ง โดยแหล่งน้ำที่ปรับปรุงใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้ง โดยใช้ระบบกาลักน้ำ คือ กุดจงอาง กุดปลาผา กุดน้ำนิน และมีการติดตั้งจุดสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า ๕ จุด คือ บ้านฟ้าหยาด ตำบลฟ้าหยาด พื้นที่ ๕๐๐ ไร่ บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง พื้นที่ ๓๕๐ ไร่ บ้านเวินชัย ตำบลผือฮี พื้นที่ ๕๐๐ ไร่ บ้านท่าสมอ ตำบลม่วง พื้นที่ ๓๕๐ ไร่ และบ้านดงจงอาง ตำบลบึงแก พื้นที่ ๕๐๐ ไร่
๒.ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน
ปริมาณน้ำฝน ฝนตกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม - กันยายน ประมาณ ๒๘๑.๑๓ มิลลิเมตร/ปี ฝนตกน้อยที่สุด เดือนธันวาคม - มกราคม ประมาณ ๐.๕๕ มิลลิเมตร เฉลี่ย ๑๒๔.๒๓
ทรัพยากรป่าไม้
๑. ป่าดงพันชาด ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๖๙๙ (พ.ศ. ๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติ บัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟ้าหยาดประมาณ ๔๖๘ ไร่
๒. ป่าพระเสาร์ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๖๕๗ (พ.ศ.๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๑๗ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระเสาร์ เนื้อที่ประมาณ ๒,๑๗๕ ไร่
๓.ป่าหนองตุและป่าคูสองชั้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๘๔๖ (พ.ศ.๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๒ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวเมือง เนื้อที่ประมาณ ๑,๒๗๕ ไร่
๔.ป่าผือฮี ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟ้าหยาด ตำบลคูเมือง ตำบลสงยาง และตำบลผือฮี เนื้อที่ประมาณ ๘,๔๐๐ ไร่
๕. ป่าแจนแลน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๖๔ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๘ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผือฮีเพียงเล็กน้อย (ส่วนที่เหลืออยู่ในเขตตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง)
ทรัพยากรสัตว์ป่า
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ราษฎรได้หักร้างถางพงที่ดินเพื่อประกอบอาชีพการเกษตร จึงมีสัตว์ป่าอยู่น้อยมาก เฉพาะบริเวณในเขตป่าสงวนแห่งชาติ สัตว์ที่พบเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ ๑ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ปกติไม่นิยมใช้เป็นอาหารไม่ใช้ล่าเพื่อการกีฬา เช่น ลิงและมีสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น กระต่ายป่า ไก่ป่า เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
รอยพระพุทธบาทจำลอง ตั้งอยู่วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นโบราณสถานที่มีอายุยาวนานประมาณ ๑,๒๐๐ ปี เป็นที่สักการะบูชาของชาวพุทธทั้งในและนอกพื้นที่
เส้นทางสู่รอยพระพุทธบาท อยู่ห่างจากอำเภอมหาชนะชัยประมาณ ๖ กิโลเมตร ตามเส้นทางมหาชนะชัย - พนมไพร (หมายเลข ๒๐๘๓) ถึงบ้านหนองยางเลี้ยวขวาเข้าไปวัดพระพุทธบาทยโสธรระยะทาง ๓ กิโลเมตร
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอมหาชนะชัย ; สิงหาคม ๒๕๔๖











ประวัติอำเภอค้อวัง
ประวัติความเป็นมา

อำเภอค้อวัง เดิมมีชื่อว่า "บ้านโนนค้อ" อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอมหาชนะชัย ต่อมาได้มีภิกษุกรรมฐานรูปหนึ่งชื่อ "วัง" เดินทางมาจากอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาบำเพ็ญพรตอยู่ที่บ้านโนนค้อ พระภิกษุรูปนี้เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนในหมู่บ้านโนนค้อและบ้านใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ดังนั้นประชาชนจึงได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านโนนค้อเป็นกลุ่มก้อนขึ้น และได้เรียกชื่อบ้านนี้ว่าหมู่บ้าน "ค้อวัง" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เนื่องจากอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร มีอาณาเขตท้องที่กว้างขวาง แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ ตำบล ๑๐๘ หมู่บ้าน การปกครองไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะท้องที่ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส ตำบลน้ำอ้อม ทั้ง ๓ ตำบลนี้ระยะทางห่างไกลจากที่ตั้งอำเภอ การคมนาคมติดต่อกับอำเภอไม่สะดวกและลำบาก มีโจรผู้ร้ายชุกชุม เพื่อแบ่งภาระการปกครองและเป็นการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ขอแยกจากอำเภอมหาชนะชัยตั้งเป็นกิ่งอำเภอค้อวังเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ ตำบล คือ ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส ตำบลน้ำอ้อม รวมทั้งสิ้น ๓๐ หมู่บ้าน ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ และได้แบ่งเขตการปกครองในขณะนั้นออกเป็น ๔ ตำบล คือ ตำบลฟ้าห่วน ตำบลกุดน้ำใส ตำบลน้ำอ้อม และตำบลค้อวัง รวมทั้งสิ้น ๓๘ หมู่บ้าน
ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ๑. นายวิชัย ลิ้มสวัสดิ์ ๒ มิ.ย. ๒๕๑๘ - ๒ ก.พ. ๒๕๑๙ ๒. นายปัญญา สากระจาย ๓ ก.พ. ๒๕๑๙ - ๓๑ ม.ค. ๒๕๒๒ ๓. นายธีระ กลิ่นลำดวน ๑ ก.พ. ๒๕๒๒ - ๗ พ.ค. ๒๕๒๒
ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ๑. นายสว่าง ศรีศกุน ๘ พ.ค. ๒๕๒๒ - ๑ มิ.ย. ๒๕๒๔ ๒. ร.ต.อุทิศ ศุกระกาญจน์ ๒ มิ.ย. ๒๕๒๔ - ๑๖ ต.ค. ๒๕๒๖ ๓. นายสนาม บุญปาน ๑๗ ต.ค. ๒๕๒๖ - ๒๐ เม.ย. ๒๕๒๙ ๔. นายเวทย์ ฉายประสาท ๒๑ เม.ย. ๒๕๑๙ - ๕ ธ.ค. ๒๕๓๑ ๕. นายประเสริฐ อินดี ๖ ธ.ค. ๒๕๓๑ - ๒ ธ.ค. ๒๕๓๓ ๖. นายธีรศักดิ์ ศรีพัฒนพงศ์ ๓ ธ.ค. ๒๕๓๓ - ๑๖ ต.ค. ๒๕๓๗ ๗. นายผดุงศักดิ์ ไชยอาลา ๑๗ ต.ค. ๒๕๓๗ - ๙ พ.ย. ๒๕๔๐ ๘. นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา ๑๐ พ.ย. ๒๕๔๐ - ๔ ก.พ. ๒๕๔๔ ๙. นายนพดล ทองสุข ๕ ก.พ. ๒๕๔๔ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๔๔ ๑๐. นายจรรยา สุคนธ์คันธชาติ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๔๔ - ๖ ก.ค. ๒๕๔๖ ๑๑. นายชัยรัตน์ สุทธิธรรม ๗ ก.ค. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน ่
สภาพทางภูมิศาสตร์
๑. ที่ตั้งและขนาด
อำเภอค้อวัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธร ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๕๐ ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ ๙๓,๗๕๐ไร่
๒. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
๓. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอค้อวัง เป็นที่ราบ ลักษณะของดินเป็นดินปนทราย มีฝนตกระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน และแห้งแล้งมากระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน ของทุกปี
๔. สภาพภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น ๒๗,๔๘๔ คน แยกเป็นชาย ๑๓,๕๖๘ คน หญิง ๑๓,๙๑๖ คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ ๑๘๓ คน/ตารางกิโลเมตร ประชากรสามารถแยกเป็นรายตำบลได้ดังนี้
ตารางแสดงข้อมูลประชากร
ตำบล
ประชากร (คน)
ครัวเรือน(ครอบครัว)
ชาย
หญิง
รวม
๑. ตำบลค้อวัง ๒. ตำบลกุดน้ำใส ๓. ตำบลฟ้าห่วน ๔. ตำบลน้ำอ้อม
๓,๙๘๔๓,๙๔๓๒,๙๕๓๒,๖๘๘
๔,๐๕๒๔,๑๕๕๒,๙๘๐๒,๗๒๙
๘,๐๓๖๘,๐๙๘๕,๙๓๓๕,๔๑๗
๑,๖๗๙๑,๔๙๗๑,๑๑๙๑,๑๓๑
รวม
๑๓,๕๖๘
๑๓,๙๑๖
๒๗,๔๘๔
๕,๔๒๖
การปกครอง
แบ่งการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ ออกเป็น ๔ ตำบล ๔๕ หมู่บ้าน ๑ เทศบาล ๔ อบต. ดังนี้
- เทศบาลตำบลค้อวัง
- ตำบลค้อวัง ๑๑ หมู่บ้าน
- ตำบลกุดน้ำใส ๑๓ หมู่บ้าน
- ตำบลฟ้าห่วน ๙ หมู่บ้าน
- ตำบลน้ำอ้อม ๑๒ หมู่บ้าน
โครงสร้างพื้นฐาน
ไฟฟ้า มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้าสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน ๑ แห่ง จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ ๔๕ หมู่บ้าน (ครบทุกหมู่บ้าน)
ประปา มีประปาหมู่บ้านจำนวน ๒๖ แห่ง ใน ๔ ตำบล ผู้ใช้น้ำ ๓๘ หมู่บ้าน
โทรศัพท์ มีจำนวนคู่สายโทรศัพท์ ๔๒๕ คู่สาย
การสื่อสารและโทรคมนาคม มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน ๑ แห่ง
การคมนาคม การติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
- ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้เส้นทาง ค้อวัง - ดอนไม้งาม - ศรีสะเกษ ระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร
- ติดต่อกับอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้เส้นทาง พลไว - ยางชุมน้อย ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร
- ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้เส้นทางสายเขื่องใน - อุบลราชธานี ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร
สภาพถนน เป็น ถนนลาดยาง ๔ สาย ได้แก่ ถนน รพช.ค้อวัง - บ้านดอนไม้งาม , สายฟ้าหยาด - ดงมะหรี่ , สาย บ้านค้อวัง - บ้านสังข์ - บ้านตูม และถนนโยธา บ้านค้อวัง - บ้านเปาะ - เหล่าน้อย - ต่อเขต บ้านคูสระ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และ เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนน ลูกรัง จำนวน ๑๕ สาย
แหล่งน้ำ
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๑๙๔ บ่อ
- บ่อน้ำตื้น จำนวน ๑,๒๔๑ บ่อ
- ถังเก็บน้ำ จำนวน ๙๖ แห่ง
- โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน ๓,๖๕๐ ใบ
- แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำชี, ห้วยสันโดด ,ห้วยพระบาง ,ห้วยมดแดง , ห้วยแข่ ฯลฯ
- สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน ๖ สถานี ดังนี้
๑. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านติ้ว ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
๒. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสังข์ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
๓. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านแจนแลน ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
๔. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านตูม ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
๕. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกุดน้ำใส ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
๖. สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านบกน้อย ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
- ปี ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ ได้มีการก่อสร้างคลองส่งน้ำ เพิ่มขึ้นอีก ๒ แห่ง ใน ตำบลกุดน้ำใส บ้านกุดน้ำใส - จานน้อย และ ตำบลน้ำอ้อม บ้านโพนแบง - บากใหญ่
เศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ปลูกข้าว รายได้ต่อหัวเฉลี่ย ๑๔,๘๓๖ บาท/คน/ปี มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น ๖๕,๐๖๒ ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน ๔,๐๓๙ ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ แยกได้ดังนี้
๑. การเกษตร
๑.๑ ข้าวนาปี พื้นที่เพาะปลูก ๖๒,๘๑๕ ไร่
๑.๒ พืชฤดูแล้ง
- นาปรัง พื้นที่เพาะปลูก ๑,๐๐๐ ไร่
- หอมแดง พื้นที่เพาะปลูก ๙๑๐ ไร่
- ถั่วลิสง พื้นที่เพาะปลูก ๘๐๐ ไร่
- พริก พื้นที่เพาะปลูก ๒๕๐ ไร่
- ฟักทอง พื้นที่เพาะปลูก ๑๐๐ ไร่
๒. การปศุสัตว์ จำนวนสัตว์เลี้ยง ได้แก่
โค จำนวน ๗,๐๒๕ ตัว
กระบือ จำนวน ๑,๑๗๗ ตัว
สุกร จำนวน ๑,๔๙๘ ตัว
เป็ด จำนวน ๘,๒๘๐ ตัว
ไก่ จำนวน ๒๖,๐๑๒ ตัว
ห่าน จำนวน ๓๓ ตัว
๓. การอุตสาหกรรม
ในเขตอำเภอค้อวัง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น โรงสีข้าว ทอผ้า และการประดิษฐ์ภาชนะใช้สอยด้วยมือ
๔. การพาณิชย์และการบริการ
- มีสถานีบริหารน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน ๓ แห่ง
- มีสหกรณ์ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรอำเภอค้อวัง
- ร้านอาหาร จำนวน ๙ แห่ง
- ร้านตัดผม จำนวน ๔ แห่ง
- ร้านเสริมสวย จำนวน ๕ แห่ง
- ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน ๑๓ แห่ง
- ร้านซ่อมรถยนต์ จำนวน ๙ แห่ง
- ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวน ๕ แห่ง
๕. ธนาคาร ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
๖. การถือครองที่ดิน
การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร มีรายละเอียดดังนี้
- มีโฉนดที่ดิน จำนวน ๑๔,๐๐๕ แปลง
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ก.) จำนวน ๔,๕๕๒ แปลง
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) จำนวน ๕๔๗ แปลง
- หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน ๑๐๙ แปลง
สังคม
การศึกษา
จำนวนสถานศึกษาในสังกัดต่าง ๆ มีดังนี้
สังกัด
โรงเรียน (แห่ง)
ห้องเรียน (ห้อง)
ครู (คน)
นักเรียน (คน)
ประถมศึกษาสามัญศึกษา
๒๑๑
๑๘๙๓๓
๒๓๔๔๔
๓,๔๗๔๑,๒๒๑
รวม
๒๒
๒๒๒
๒๗๘
๔,๖๙๕
การศึกษานอกโรงเรียน
- วิชาชีพระยะสั้น ๔ กลุ่ม
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ๔๕ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน ๑ แห่ง
การศึกษาอื่น ๆ
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม ๑ แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ๗ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๖ แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
การศาสนา
- ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๙ นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นๆ มีประมาณ ร้อยละ ๑
- มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา คือ วัด , และที่พักสงฆ์ จำนวน ๓๔ แห่ง
ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ประชากรของอำเภอค้อวังส่วนใหญ่เป็นคนพื้นบ้านชาวอีสาน ภาษาพูดใช้ภาษาพื้นเมืองอีสาน มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย สนุกสนาน ร่าเริงและมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผีปู่ตา จะมีการบวงสรวงเซ่นไหว้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดความสุขราบรื่นในชีวิต
- ประเพณีที่สำคัญ มีงานประเพณี บุญเดือนหก บุญบั้งไฟ ของอำเภอค้อวัง จัดงาน ในห้วงกลางเดือน มิถุนายน ของทุกปีเพื่อบูชาเทพยดาบัลดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล และบุญแข่งเรือ ในห้วงเทศกาลออกพรรษา ที่ตำบลฟ้าห่วน และ นอกจากนี้ ชาวบ้านยังยึดถือและปฏิบัติในจารีตประเพณีดั้งเดิมที่เรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
สาธารณสุข
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
- โรงพยาบาล ขนาด ๓๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน ๑ แห่ง
- สถานีอนามัย จำนวน ๖ แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๒ แห่ง
จำนวนบุคลากรทางด้านการสาธารณสุข
- แพทย์ จำนวน ๒ คน
- ทันตภิบาล ๑ คน
- เภสัชกร จำนวน ๑ คน
- พยาบาลวิชาชีพ / พยาบาลเทคนิค จำนวน ๑๗ คน
- จนท.บริหารงานสาธรณสุข / จพง. สาธารณสุขชุมชน จำนวน ๑๖ คน
- เจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวน ๔๐ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๓๒๗ คน
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
๑. ผ้าไหม บ้านบกน้อย ม.๖ ต.กุดน้ำใส
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านบกน้อย ม.๖ ต.กุดน้ำใส
ผู้ประสานงาน : นางคำแปลง สง่าศรี
สถานที่ติดต่อ : บ้านบกน้อย ม.๖ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ๑๐ - ๑๕ ผืน / เดือน
๒. ขนมถั่วตัด และถั่วลิสงแปรรูป บ้านฟ้าห่วน ม.๑ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้านพัฒนาชุมชน บ้านฟ้าห่วน ม.๑ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นางอรุณ เลิศวิเชียร
สถานที่ติดต่อ : ๖๐ ม.๑ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๔๕๗๙-๗๒๘๐
ปริมาณการผลิต : ๘๐ โหล / เดือน
๓. ถั่วลิสงแปรรูป และกล้วยฉาบ
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้าน บ้านฟ้าห่วน ม.๒ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ผู้ประสานงาน : นางบุญมี พลรักษ์
สถานที่ติดต่อ : ๙๓ ม.๒ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ๘๐ โหล / เดือน
๔. ขนม กะหรี่ปั๊บ , ทองม้วน , มะพร้าวแก้ว , ครองแครง บ้านโพนเมือง ม.๓ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีบ้านโพนเมือง ม.๓ ต.ฟ้าห่วน
ผู้ประสานงาน : นางเตือนใจ เกตุสิทธิ์
สถานที่ติดต่อ : ๙๒ ม.๓ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๒๑๑-๙๐๗๗
๕. ผ้าขิด และผ้าโสร่ง บ้านโพนเมือง ม.๔ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มพัฒนาสตรี บ้านโพนเมือง ม.๔ ต.ฟ้าห่วน
ผู้ประสานงาน : นางสุกัญญา ทาฤทธิ์
สถานที่ติดต่อ : ๕๔ ม.๔ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๙๖๗-๙๓๕๗
ปริมาณการผลิต : ๗ ผืน / เดือน
๖. ขนมนางเล็ด ดอกจอก และข้าวเกรียบ บ้านโพนเมือง ม.๕ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีแม่บ้าน ม.๕ บ้านโพนเมือง ต.ฟ้าห่วน
ผู้ประสานงาน : นางทองแดง มุกดาคำ
สถานที่ติดต่อ : ๔๒ ม.๕ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๔๕๙-๗๐๖๑
ปริมาณการผลิต : ๕๐๐ โหล / เดือน
๗. ผ้าทอลายขิด บ้านโพนเมือง ม.๕ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอผ้าฝ่ายลายขิด บ้านโพนเมือง ม.๕ ต.ฟ้าห่วน
ผู้ประสานงาน : นางคำพอง สาริจันโท
สถานที่ติดต่อ : ๑๑๘ ม.๕ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๔๕๙-๗๐๖๑
ปริมาณการผลิต : ๑ - ๒ โหล / เดือน
๘. หอม กระเทียม พริก และผ้าทอมือ บ้านแข่ ม.๖ ต.ฟ้าห่วน
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีบ้านแข่ ม.๖ ต.ฟ้าห่วน
ผู้ประสานงาน : นางชะบาไพร พันธ์คง
สถานที่ติดต่อ : ๓๐ ม.๖ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
๙. แชมพูสมุนไพรอัญชัญ ว่านหางจรเข้ และน้ำยาล้างจาน บ้านฟ้าห่วน ม.๘
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มพัฒนาสตรี บ้านฟ้าห่วน ม.๘ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นางนิยม แสงกล้า
สถานที่ติดต่อ : ๑๕๑ ม.๘ ต.ฟ้าห่วน อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๔๕๗๙-๗๒๐๙
ปริมาณการผลิต : ๓๖ ขวด / เดือน
๑๐. ขนมกล้วยฉาบ บ้านกุดน้ำใส ม.๑ ต.กุดน้ำใส
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีแม่บ้านกุดน้ำใส ม.๑
ผู้ประสานงาน : นางอุทัย สายสมบัติ
สถานที่ติดต่อ : ๙๐ ม.๑ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๓๙๐-๑๑๕๓
ปริมาณการผลิต : ๓๐ กิโลกรัม / เดือน
๑๑. ผ้าไหมมัดหมี่ทอมือ บ้านติ้ว ม.๔ ต.กุดน้ำใส
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้าน บ้านติ้ว ม.๔
ผู้ประสานงาน : นางฉวีวรรณ พุฒพันธ์
สถานที่ติดต่อ : ๕๑ ม.๔ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๔๗๐-๓๐๓๑
ปริมาณการผลิต : ๑๐ ผืน / เดือน
๑๒. ผ้าไหม บ้านสังข์ ม.๗ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้าน ม.๗ ต.กุดน้ำใส
ผู้ประสานงาน : นางนิยม ผ่าผล
สถานที่ติดต่อ : ๑๗๒ ม.๗ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๔๕๗๑-๐๓๙๑
ปริมาณการผลิต : ๑๕ ผืน / เดือน
๑๓. ถั่วกรอบแก้ว ถั่วคั่วทราย และถั่วตัด บ้านสังข์ ม.๑๓ ต.กุดน้ำใส
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้าน บ้านสังข์ ม.๑๓ ต.กุดน้ำใส
ผู้ประสานงาน : นางวาศุกรี ลีลานุช
สถานที่ติดต่อ : ๖๙ ม.๑๓ ต.กุดน้ำใส อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๔๕๗๑-๓๘๔๗
๑๔. ข้าวเกรียบผัก ผลไม้ บ้านโพนแบง ม.๓ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโพนแบงสามัคคี
ผู้ประสานงาน : นางบุญอ้อม หารบำราช
สถานที่ติดต่อ : ๙๖ ม.๓ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๕๗๙-๐๒๓๕
ปริมาณการผลิต : ๑,๐๐๐ กิโลกรัม / เดือน
๑๕. ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านศิริพัฒนา ม.๔
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ ศิริพัฒนา ม.๔
ผู้ประสานงาน : นางศิริวรรณ ปัดภัย
สถานที่ติดต่อ : ๘ ม.๔ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ๓๐ เมตร / เดือน
๑๖. เสื่อกก บ้านจานทุ่ง ม.๖ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีทอเสื่อกก บ้านจานทุ่ง ม.๖ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นางสมพร ชาติมนตรี
สถานที่ติดต่อ : ๙๔ ม.๖ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๖๐๐-๓๖๔๙
ปริมาณการผลิต : ๖๐ ผืน / เดือน
๑๗. ผ้าไหม บ้านบากน้อย ม.๘ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้าน บ้านบากน้อย ม.๘ ต.น้ำอ้อม
ผู้ประสานงาน : นางทองมี วงษ์ใหญ่
สถานที่ติดต่อ : ๓ ม.๘ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ๕ ผืน / เดือน
๑๘. น้ำยาล้างจาน , แชมพูสมุนไพร บ้านน้ำอ้อม ม.๙ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีบ้านน้ำอ้อม ม.๙
ผู้ประสานงาน : นางภัชรินทร์ ทองสุทธิ์
สถานที่ติดต่อ : บ้านน้ำอ้อม ม.๙ ต.น้ำอ้อม
โทรศัพท์ : ๐-๑๓๐๒-๘๔๖๙
๑๙. เสื่อกก , ผ้าทอพื้นเมือง บ้านศิริพัฒนา ม.๑๐ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้านทอผ้าพื้นเมือง บ้านศิริพัฒนา ม.๑๐ ต.น้ำอ้อม
ผู้ประสานงาน : นายสุวรรณ สิมมา (ผู้ใหญ่บ้าน)
สถานที่ติดต่อ : บ้านศิริพัฒนา ม.๑๐ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๑๕๗๙-๔๗๑๒
๒๐. ขนมกล้วยฉาบ , ครองแครง , ดอกจอก , มันทอด บ้านหนองปอ ม.๑๑ ต.น้ำอ้อม
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีแม่บ้านหนองปอ ม.๑๑ ต.น้ำอ้อม
ผู้ประสานงาน : นางสุรีภรณ์ สีหาอาจ
สถานที่ติดต่อ : ๑๓ ม.๑๑ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๔๕๗๑-๒๘๒๒ , ๐-๑๕๗๙-๘๖๒๕
๒๑. ผ้าถุงลายขิด บ้านค้อวัง ม.๑ ต.ค้อวัง
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านค้อวัง ม.๑ ต.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นางเล็ก ด้วงเบ้า
สถานที่ติดต่อ : ๑๐๖ ม.๑ ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
โทรศัพท์ : ๐-๖๒๔๔-๘๖๔๙
ปริมาณการผลิต : เดือนละ ๑๕ ผืน
๒๒. ผ้าขิต , ผ้ามัดหมี่ บ้านเปาะ ม.๖ ต.ค้อวัง
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มแม่บ้าน บ้านเปาะ ม.๖
ผู้ประสานงาน : นางหนูจันทร์ แสงกล้า
สถานที่ติดต่อ : ๖ หมู่ ๖ ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ผ้าขิต เดือนละ ๑๐ ผืน ผ้ามัดหมี่เดือนละ ๑๕ ผืน
๒๓. เครื่องจักสาน บ้านเหล่าน้อย ม.๘ ต.ค้อวัง
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มจักสานบ้านเหล่าน้อย ม.๘ ต.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นายพันธ์ เสาหงษ์
สถานที่ติดต่อ : ๑๗ ม.๘ ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ปริมาณการผลิต : ๖๐ ชิ้น / เดือน
๒๔. ผ้าไหม , ผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดงมะหรี่ ม.๒
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มสตรีบ้านดงมะหรี่ ม.๒ ต.ค้อวัง
ผู้ประสานงาน : นางจ่อย ประดับทอง
สถานที่ติดต่อ : ๒๒ ม.๒ ต.ค้อวัง อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอค้อวัง อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นที่ราบ ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทราย
ทรัพยากรป่าไม้
อำเภอค้อวังมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ดังนี้
- ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ ป่าแจนแลน ป่าฟ้าห่วน และป่าดงใหญ่ เนื้อที่ประมาณ ๖,๒๖๓ ไร่ ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่อมโทรม
- พื้นที่ป่า ที่จัดเป็นเขตปฏิรูปให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ พื้นที่ป่าฟ้าห่วน โซน E ๔๒ แปลง เนื้อที่ ๘๒ ไร่ ๓ งาน ๓๗ ตารางวา
- เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร ๒๘ แปลง เนื้อที่ ๕๒ ไร่ ๕๐ ตารางวา
- ทำการเกษตรเต็มแปลง ๑๔ แปลง เนื้อที่ ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๘๗ ตารางวา
แหล่งท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. ประเภทแหล่งธรรมชาติ ลำน้ำชี มีระยะทางยาว ๒๕ กิโลเมตร
๒. ประเภทแหล่งโบราณวัตถุ/โบราณสถาน มีเก็บรวบรวม ไว้ที่วัดบ้านเปาะ ไหโบราญ , เสมาหินทราย และ ซากเจดีย์โบราณ ดอนธาตุ บ้านผิผ่วน ตำบลค้อวัง
๓. ประเภทแหล่งวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น งานเทศการบุญบั้งไฟ ระหว่างวันเสาร์กลางเดือน มิถุนายน ของทุกปี ,งานแข่งเรือ ช่วงเทศกาลออกพรรษา ที่บ้านฟ้าห่วน และบ้านโพนเมือง ตำบลฟ้าห่วน
๔. ประเภทแหล่งหัตถกรรมพื้นเมือง การแปรรูปอาหาร ข้าวเกรียบผักผลไม้ ที่ บ้านโพนแบง ตำบลน้ำอ้อม ,หอม กระเทียม บ้านแข่ - บ้านโพนเมือง ตำบลฟ้าห่วน
ข้อมูลจาก : ที่ทำการปกครองอำเภอค้อวัง ; สิงหาคม ๒๕๔๖